วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563

การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล


การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการเรียนแบบสากล
การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (LDL : Universal Design for Learning )
          แนวคิด Universal Design เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ การออกแบบมุ่งที่การใช้งานให้คุ้มค่า ครอบคลุมสําหรับผู้เรียนทุกคน โดยคํานึงถึงโอกาสในการใช้งานอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นการนําแนวคิดการ ออกแบบการเรียนรู้สากล (Universal Design for Learning ) มาใช้ในซึ่งสามารถช่วยลดอุปสรรคต่อการเรียนรู้ ของผู้เรียนได้ และสร้างความยืดหยุ่นในการจัดการศึกษา เพื่อสนองต่อผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันสามารถเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน
          แนวคิดการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (Universal design for learning : UDL) เกี่ยวข้องกับการ จัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ในยุคการศึกษา 4.0 จึงมีการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่มีความต้องการหลากหลายและแตกต่างกัน ประกอบไปด้วยหลักการ ที่สําคัญ 3 ประการ (Strugeman, Hitchcock. Hall, Meo, & et. Al : 2006) ได้แก่
             1. การสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อจดจํา โดยการจัดหาวิธีการนําเสนอที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย
             2. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ยุทธศาสตร์ โดยจัดหาวิธีการอธิบายหรือการแสดงออกด้วยคําพูดที่ยืดหยุ่นและหลากหลายและการเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า
          3. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล โดยการจัดหาทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นให้นักเรียน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตามหลักสูตร


การออกแบบที่เป็นสากลในการจัดการเรียนการสอน


การออกแบบที่เป็นสากลในการจัดการเรียนการสอน

การออกแบบที่เป็นสากลในการเรียนการสอน (Universal Design for Instruction : UDI)

          การนําแนวคิด UD มาใช้โดยเป็นการประยุกต์เพื่อการตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่มีความต้องหลากหลาย โดยมีหลักการว่า UD นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ ผู้เรียนแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งการนํา UD ไปใช้ในการศึกษาก็เพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองให้เต็มที่ตามศักยภาพ (Eagleton, 2008)

          Scott, Shaw and McGuire (2001) ได้เสนอหลักการในการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลไว้ 19 ประการ ในการออกแบบการสอนที่เป็นสากล(Universal Design of Instruction หรือ UDI) ได้รับการพัฒนามาจากการศึกษาค้นคว้างานเขียนและงานวิจัยเกี่ยวกับหลักการในการออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design หรือUD) และการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผลเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ครูผู้สอนใช้ในการครุ่นคิดใตร่ตรอง โดยนําไปใช้ได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหลักสูตรใหม่ ๆ หรือใช้เพื่อพิจารณาการสิ่งที่ทําอยู่แล้ว ณ ปัจจุบันก็ได้ แล้วแต่ความจําเป็นของผู้สอนแต่ละท่าน หลักการทั้ง 9ประการนี้จะแสดงให้ เห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับการสอน หรือเป็นแนวทางในการสอน ไม่ว่าจะเป็นการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน หรือการขยายประสบการณ์การเรียนรู้ หรือการพิจารณาว่าจะสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เหมาะสมกับเด็กทุกคนได้อย่างไร ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้สอนจะใช้หลักการทุกข้อกับการเรียนการสอนทุกด้าน พร้อม ๆ กันได้ แต่เมื่อดูชั้นเรียนโดยองค์รวม จะพบว่าหลักการแต่ละข้อจะเข้ามามีบทบาท หลักการทั้งหมดนี้มี ประโยชน์สําหรับผู้สอนทุกท่าน ไม่เว้นแม้แต่ผู้มีประสบการณ์ช่ำชองจากสาขาวิชาต่าง ๆ และมีประโยชน์ สูงสุดสําหรับผู้สอนมือใหม่หรือครูผู้ช่วยสอนที่ต้องการคําแนะนําและแนวทางในการสอน

          Scott. Shaw and McGuire (2003 : 369 379) ได้นําเสนอหลักการในการออกแบบการเรียนการ สอนที่เป็นสากลไว้9ประการ ดังนี้

             1.ความเสมอภาคในการใช้งาน (EQUITABLE USE)

             เป็นการออกแบบเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สําหรับคนทุกคน ข้อมูลและอุปกรณ์ต้องใช้ งานได้อย่างราบรื่นโดยกลุ่มนักเรียนที่เยอะขึ้นและมีความหลากหลายมากขึ้น หมายถึงการใช้อุปกรณ์การ เรียนการสอนที่เหมือนกัน เมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ และใช้อุปกรณ์ที่เทียบเท่าเมื่อใช้อุปกรณ์ที่เหมือนกัน ไม่ได้ตัวอย่างเช่นข้อความดิจิทัลในรูปแบบที่ใช้ได้กับซอฟต์แวร์อ่านข้อความหลาย ๆ ชนิด และมีสงค์ เชื่อมโยงไปยังข้อมูลเบื้องหลังสําหรับนักเรียนทุกคน

             2. ความยืดหยุ่นในการใช้ FLEXIBILITY IN USE)

เป็นการออกแบบที่ทําให้ผู้เรียนแต่ละคนที่มีความหลากหลายได้ใได้เช่นเดียวกัน ต้องม ตัวเลือกหากผู้เรียนต้องการซื้อเนื้อหาต้องทําได้ หรือจะพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารที่จับต้องได้ก็ต้องทําได้ และยังต้องปรับขนาดและความคมชัดของตัวอักษรได้เพื่อประโยชน์ต่อผู้เรียนที่มีปัญหาด้านสายตา ผู้สอนการ จัดเตรียมวิธีการสอนที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับเชาระความรู้เดียวกันในหลายรูปแบบ

             3. ง่ายและเป็นธรรมชาติ (SIMPLE AND INTUITIVE)

             เป็นการออกแบบที่ทําให้ผลิตภัณฑ์นั้นใช้งานง่าย สิ่งสําคัญในการเรียนรู้คือความเข้าใจเนื้อหาที่ เรียน ไม่ใช่วิธีในการทําความเข้าใจ (วิธีไม่สําคัญ สําคัญคือเข้าใจ) เมื่อผู้สอนจะนําหลักการนี้ไปใช้ซึ่งต้องใช้ ตารางคะแนนช่วย (ในตารางจะเขียนว่าต้องเข้าใจอะไรอย่างไร)

             4. สารสนเทศที่ช่วยให้รับรู้ได้ (PERCEPTIBLE INFORMATION)

             เป็นการออกแบบที่ทําให้ผู้เรียนแต่ละคนเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนกัน ข้อมูลสารสนเทศความรู้จะ ถูกนําเสนอแก่ผู้เรียนในลักษณะที่สามารถเข้าถึงได้ (ตัวอย่างเช่นเมื่อพูดถึงกราฟิกจะมีการอธิบาย หรือใช้ แท็กสําหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสายตา ส่วนคําบรรยายมีไว้สําหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยิน และเอกสารการอ่านทั้งหมดจะมีให้ในรูปแบบดิจิทัลที่เข้าถึงได้)

             5. การยอมรับว่าจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น (TOLERANCE FOR ERROR)

             เป็นการออกแบบที่คำนึงความปลอดภัยของผู้เรียน (ในฐานะใช้) ผู้สอนต้องเข้าใจว่าผู้เรียนมี ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และมีแหล่งเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ผลก็คือประสิทธิภาพของการสอนก็ย่อมแปรผัน ไปเช่นเดียวกัน ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนแบ่งโครงงานใหญ่ ๆ ออกเป็นส่วนเล็ก ๆ มาส่งก่อน เพื่อจะได้นํา ข้อเสนอจากผู้สอนไปปรับปรุงโครงงานโดยรวม

             6. ความสามารถทางกายภาพที่ต่ำ (LOW PHYSICAL EFFORT)

             เป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้มีความเมื่อยล้าในการใช้น้อยที่สุด เมื่อความพยายามทางกายภาพ ไม่ได้เป็นส่วนสําคัญของหลักสูตรายวิชา ความพยายามทางกายภาพควรจะขจัดให้หายไปเพื่อที่ผู้เรียนจะ เพิ่มความสนใจในการเรียนรู้ดังนั้นการลดอุปสรรคการเรียนรู้ในทางกายภาพก็เป็นดีในการเรียนรู้สําหรับผู้เรียนบางคน

             7. ขนาดและพื้นที่สําหรับการประยุกต์ใช้และการใช้ (SIZE AND SPACE FOR APPROACH AND USE)

             เป็นการออกแบบเพียผู้ใช้ที่มีขนาดร่างกายที่แตกต่างกันใช้ได้อย่างสะดวก พิจารณาความ ต้องการของผู้เรียนภายในพื้นที่ที่กําหนดไว้ โดยให้ความสําคัญกับการเปลี่ยนแปลงในขนาดร่างกาย ทําทาง การเคลื่อนไหวและความต้องการของนักเรียน

             8. ชุมชนของผู้เรียน (A COMMUNITY OF LEARNERS)

             เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ สร้างสภาพแวดล้อม (ทั้งทางกายภาพและทางออนไลน์) 13 สกปลอดภัยและสนับสนุนการได้ตอบระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง รวมทั้งระหว่างนักเรียนและผู้สอน

             9. บรรยากาศในการสอน ( INSTRUCTIONAL. CLIMATE)

             เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ที่สภาพแวดล้อม ได้รับการออกแบบมาเพื่อล้าง คม สื่อสาร ให้นังเรือนรับรู้ว่าผู้สอนมีตั้งความคาดหวังไว้สูงสําหรับผู้เรียนทุกคน อาจารย์ผู้สอนสามาร เริ่มต้นกระบวนการนี้ได้ทั้งในหลักสูตรกับคําแถลงเกี่ยวกับความคาดหวังในการเคารพต่อความแตกต่างและ ความหลากหลายรวมถึงข้อความกระตุ้นให้นักเรียนเปิดเผยตนเองเกี่ยวกับปัญหาการเรียนรู้ที่ได้รับการรับรอง หรือสงสัยหรือสงสัย



ความสำคัญของการการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล


ความสำคัญของการการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล

          การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for UDI) คือ แนวทางการสอนที่ ประกอบด้วย การออกแบบเชิงรุก เเละใช้กลวิธีการเรียนการสอนแบบรวม (inclusive intructional strategies ) ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในวงกว้าง ครูมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก (proactive) มีความรับผิดชอบ (responsive) และเป็นผู้สนับสนุน (supportive) การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction : UDI) ให้ความสําคัญกับหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ เทคโนโลยี และบริการต่าง ๆ โดยทั่วไปที่จัด ให้ผู้เรียนถูกออกแบบมาให้กับผู้เรียนส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยแต่ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล จะต้องขยายขอบเขตสำหรับผู้เรียนที่มีหลากหลายลักษณะ คำนึงถึงผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในการออกแบบดังกล่าว มุ่งที่ผลิตภัณฑ์ในการศึกษาและการจัด สภาพแวดล้อมเพื่อให้ได้ผลได้มากเท่าที่จะทําได้ (Story, Mueller, and Mace, 1998)

           การออกแบบสากลในการศึกษา

          Univeal Design (UD) เป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับคนทุกคนโดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็น สําหรับใครคนใดคนหนึ่ง ดังนั้นการนําหลักการ Universal Design (LD) มาใช้ในการศึกษา จึงสามารถลด อุปสรรคต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ และสร้างความยืดหยุ่นในการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้ที่มีความแตกต่างกัน สามารถเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกันให้ได้มากที่สุดStrangerman, Hitchcrack, Hal, Meo, & et. al : 2006 จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นคาโรลาโด ได้นําแนวคิดนี้มาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนใน 2 ลักษณะ คือ Universal Design for Instruction (UDI)และ Universal Design for Learning (UDL)  โดยที่ UDL เป็นการออกแบบการสอน รวมไปถึงวิธีการสอน การจัดเนื้อหา การประเมินผล และหลักสูตร ส่วน (ULD)เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับออกแบบสภาพการเรียนรู้หรือสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน

          การออกแบบสากลในการศึกษา (Universal Design in Education) ถูกนําไปใช้กับผลิตภัณฑ์ทางการ ศึกษาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ ซอฟต์แวร์ ตําราและอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ รวมถึงสภาพแวดล้อม ต่างๆ เช่น ห้องรับแขก ห้องเรียน อาคาร สหภาพนักศึกษาห้องสมุด และหลักสูตรการเรียนทางไกล แตกต่าง จากที่พักสําหรับบุคคลที่เฉพาะเจาะจงที่มีความสามารถในการเลือกปฏิบัติ UDE ให้ประโยชน์แก่นักเรียนทุก คนรวมถึง ผู้ที่ไม่ได้รับที่พักที่เกี่ยวข้องกับคนพิการจากโรงเรียน ส่วนต่อไปนี้แสดงตัวอย่างการใช้งานทั่วไป ในการตั้งค่าทามการศึกษา ช่องว่างทางกายภาพเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) การสอนและบริการของนักเรียน แตกต่างจากที่พักสําหรับบุคคลที่เฉพาะเจาะจงที่มีความสามารถในการเลือกปฏิบัติ UDE ให้ประโยชน์แก่ นักเรียนทุกคนรวมถึงผู้ที่ไม่ได้รับที่พักที่เกี่ยวข้องกับคนพิการจากโรงเรียน ส่วนต่อไปนี้แสดงตัวอย่างของ การใช้งานทั่วไปในการตั้งคําทางการศึกษา : พื้นที่ทางกายภาพเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) การสอนและ บริการของนักเรียน



การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ


การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการเรียนที่มีดี
          การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพตามที่มาร์ซาโน (Marzano: 2012ได้นําเสนอกลวิธีการจัดการเรียนการสอนสรุปได้ 3 ส่วน คือ 1) การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning) ซึ่งกลวิธีในส่วนที่ 1 นี้จะเป็นพื้นฐานสําคัญให้กับการเรียนในทุกบทเรียน เมื่อครูสร้าง สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ย่อมจูงใจและทําให้ผู้เรียนเกิดความคาดหวังและเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการดูแลให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อการพัฒนาเปิดโอกาสให้ผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะการ เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้การติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง 2) การช่วยพัฒนาความรู้ความ เข้าใจให้กับผู้เรียน (Helping students Develop Understanding) กลวิธีในส่วนที่ 2 นี้เป็นการช่วยผู้เรียนใน การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จัดลําดับองค์ความรู้และเชื่อมโยงความรู้เก่ากับองค์ความรู้ใหม่ จัดการกับ ความรู้ ตรวจสอบความรู้ สร้างมโนทัศน์ (Concept) ที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวนการบูรณาการและเรียนรู้ กระบวนการในแต่ละประเภทของความรู้จะเกี่ยวข้องกับ (1) การสร้างขั้นตอนที่จําเป็นในแต่ละกระบวนการ หรือทักษะ (2) พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติอย่างหลากหลาย (3)ปฏิบัติตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจํา และ 3) ช่วยผู้เรียนในการขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ (Helping students Extend and Apply Knowledge) กลวิธีในส่วนที่ 3 คือ ช่วยขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ คือ เป็นการ ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้มากกว่าคําตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ขยายองค์ ความรู้ โดยนําความรู้กับไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real-world Contexts) โดยใช้กระบวนการของเหตุ และผล และถึงเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

          จากกลวิธีการสอนดังกล่าวเมื่อพิจารณาตามหลักการ Universal Design (UD) จะเกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่คนในทุกช่วงอายุและความสามารถที่แตกต่างกันสามารถ ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด (Story, Mueller, & Mace, 1998) เมื่อนํา Universal Design (UD) มาใช้ ทางการศึกษาจึงเป็นการออกแบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนทุกคน ได้แก่ การสอนที่ใช้สื่อ และ วิธีการแบบต่างๆ เช่น การบรรยาย การร่วมกันอภิปราย การทํางานกลุ่ม การสอนโดยใช้อินเตอร์เน็ต ใช้ ห้องปฏิบัติการ การออกฝึกภาคสนาม เป็นต้น รวมทั้งการออกแบบหลักสูตรที่สนองต่อผู้เรียนหลายระดับ ความสามารถในห้องเรียน (สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 2555: 4-6) Universal Design (UD) ถูก นํามาใช้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา อาทิ คอมพิวเตอร์ เว็ปไซต์ ซอร์ฟแวร์ หนังสือคู่มือ และเครื่องมือที่ ใช้ในห้องทดลอง ฯลฯ และนํามาปรับใช้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อาทิ หอพัก ห้องเรียน อาคารศูนย์ประชุม ห้องสมุด และคอร์สรายวิชาเรียนทางไกล เป็นต้น



ทักษะแห่งความร่วมมือ

ทักษะแห่งความร่วมมือ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเรียนรู้แบบร่วมมือ
             Johnson and Johnson (1991,1994) กล่าวว่าทักษะระหว่างบุคคลหลายทักษะส่งผลต่อความสำเร็จมีความพยายามร่วมมือกันทักษะแห่งความร่วมมือมีกี่ระดับ คือ
           1 และดับเครื่องนิสัย (forming) ทักษะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสร้างกลุ่มการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ ให้ทำหน้าที่ได้เป็นทักษะเริ่มแรกของทักษะที่มุ่งการจัดการเรียนรู้และกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำพฤติกรรมที่สำคัญบางประการเกี่ยวกับทักษะระดับสร้างนิสัยดังตัวอย่างต่อไปนี้
            เคลื่อนไหวในกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนเวลาการทำงานกลุ่มเป็นสิ่งมีค่าจึงควรใช้เวลาในการจัดโต๊ะเก้าอี้และจัดกลุ่มการเรียน ให้น้อยที่สุดตามความจำเป็นนักเรียนอาจจำเป็นต้องฝึกการจัดกลุ่มหลายๆครั้งก่อนที่จะปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล
            อยู่ประจำกลุ่มนักเรียนที่เดินไปเดินมาในช่วงที่กลุ่มทำงานไม่ก่อให้เกิดผลดีและยังลบกวนสมาธิของสมาชิกกลุ่มอื่นด้วย
            พูดเบาๆแม้ว่ากลุ่มการเรียนรู้ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม แต่ไม่จำเป็นต้องใช้เสียงดังเกินไปคู่อาจมอบหมายให้นักเรียนคนหนึ่งในกลุ่มเป็นผู้คอยกำกับให้ผู้อื่นพูดเบาๆ
            กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม สมาชิกกลุ่มทุกคนต้องร่วมกันคิด ร่วมกันใช้สื่อการเรียนได้มีส่วนในความพยายามให้คุณบรรลุผลการให้นักเรียนผัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม
           2. ระดับสร้างบทบาท (function ) ทักษะที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อทำงานให้สำเร็จและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานที่มีประสิทธิผลในหมู่สมาชิกกลุ่มทักษะระดับที่สองนี้เน้นที่การจัดการความพยายามของกลุ่มเพื่อทำงานให้สำเร็จและรักษาความสัมพันธ์ในการทำงานที่มีประสิทธิผล การทำให้สมาชิกกลุ่มจดจ่ออยู่กับการทำงานการหาวิธีดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและการสร้างบรรยากาศ การทำงานที่น่าพึงพอใจและเป็นมิตรนั้นถือว่าเป็นการผสมผสานอันสำคัญที่จะนำไปสู่กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีประสิทธิผลตัวอย่างทักษะระดับสร้างบทบาท
            และแนวทางการทำงานกลุ่ม โดย 1 แจ้งและย้ำความมุ่งหมายของงานที่ได้รับมอบหมาย 2 เดือนให้ใช้เวลาตามที่กำหนดไว้ และ 3 เสนอขั้นตอนว่าจะทำงานอย่างไรให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิผลที่สุด
            แสดงออกถึงการสนับสนุนและการยอมรับทั้งการใช้คำพูดและการแสดงท่าทาง โดยใช้การมองสบตาแสดงถึงความสนใจชมเชยแสวงหาความคิดและข้อสรุปของผู้อื่น
             ขอความช่วยเหลือหรือความชัดเจนในสิ่งที่พูดหรือทำในกลุ่ม
              เสนอให้คำอธิบายหรือชี้แจง
              แปลความหมายข้อเสนอของสมาชิกอื่น
              เสริมพลังให้กลุ่มเมื่อเห็นว่าแรงจูงใจลดลงโดยเสนอแนะความคิดใหม่ใช้อารมณ์ขันหรือ แสดงความกระตือรือร้น
              บรรยายความรู้สึกของตนเองเมื่อมีโอกาสเหมาะ
              3 ระดับสร้างระบบ(formulating) เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการสร้างความเข้าใจระดับลึกในเนื้อหาวิชาที่เรียน เพื่อส่งเสริมให้ใช้กลยุทธ์การใช้เหตุผลที่มีคุณภาพสูงและเพิ่มความเชี่ยวชาญ และความคงทนของความรู้ที่จะได้จากงานที่ปฏิบัติ ทักษะระดับที่สาม นี้ทำให้เกิดกระบวนการทางสมองที่จำเป็นในการ สร้างความเข้าใจที่ลึกลงไปในเนื้อหาความรู้ที่เรียนกระตุ้นการใช้กลยุทธ์ในการใช้เหตุผลที่มีคุณภาพสูงและเพิ่มความเชี่ยวชาญ และความคงทนของเนื้อหาความรู้ที่เรียนเนื่องจากความมุ่งหมายกลุ่มการเรียนรู้คือต้องการเพิ่มการเรียนรู้ของสมาชิกทักษะเหล่านี้มีเป้าหมายเฉพาะไปที่การให้รูปแบบวิธีการในการจัดระเบียบความรู้ที่เรียน ทักษะระดับสร้างระบบสามารถดำเนินไปได้ในขณะที่สมาชิกกลุ่มรับบทบาทต่าง ๆ กันบทบาทที่สัมพันธ์กับทักษะเหล่านี้คือ
              ผู้สรุปย่อ เป็นผู้กล่าวสรุปสิ่งที่อ่านหรือ อภิปรายให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้โดย ไม่อาศัยร่างบันทึกหรือสื่อการเรียนต้นฉบับควรสรุปข้อเท็จจริงและความคิดความสำคัญทั้งหมดไว้ในการสรุปย่อด้วยสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องสรุปย่อจากความจำไปบ่อยเพื่อเพิ่มการเรียนรู้
              ผู้แก้ไข เป็นผู้ระวัง เรื่องความถูกต้อง โดยคอยแก้ไขข้อสรุปของสมาชิกแล้วเพิ่มเติมข้อสนเทศที่สำคัญซึ่งไม่ปรากฏในข้อสรุป
              ผู้ประสานความร่วมมือ เป็นผู้ประสานความร่วมมือโดย ขอให้สมาชิกอื่น ๆเชื่อมโยงความรู้ที่กำลังเรียนอยู่กับความ รู้ ที่เรียนไปแล้ว และกับสิ่งอื่น ๆที่สมาชิกเรานั้นรู้
              ผู้ช่วยจำ เป็นผู้หาวิธีการที่ดีในการจดจำข้อเท็จจริงและความคิดสำคัญ โดยการใช้ภาพวาดสร้างมโนภาพหรือวิธีจำอื่น ๆ และนำมาร่วมหารือกันในกลุ่ม
              ผู้ตรวจสอบความเข้าใจ เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนถึงเหตุผลที่ใช้ในการทำงานให้สำเร็จซึ่งจะทำให้การให้เหตุผลของนักเรียนชัดแจ้ง และเปิดกว้างต่อการปรับแก้และอภิปราย
              ผู้ขอความช่วยเหลือเป็นผู้เลือกที่จะคอยให้ความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มรวมทั้งเป็นผู้ตั้งคำถามที่ชัดเจนและตรงประเด็นและทำอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะช่วยเหลือสำเร็จ
               ผู้อธิบายเป็นผู้บรรยายวิธีการทำงานให้สำเร็จ(โดยไม่ให้คำตอบ) ให้ข้อมูลย้อนกลับที่เจาะ จงเกี่ยวกับงานนักเรียนอื่นและลงท้ายด้วยการขอให้นักเรียนอื่นบรรยายหรือสาธิตวิธีการทำงานให้สำเร็จ
               ผู้ให้ความสะดวกในการอธิบายเป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มวางแผนที่จะสอนเนื้อหาความรู้ให้นักเรียนคนอื่นโดยละเอียดการวางแผนวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุดมีผลต่อคุณภาพของกลยุทธ์การให้เหตุและผลและความคงทนของความรู้
               4 ระดับสร้างเสริม (fermenting) ทักษะที่จำเป็นต่อการส่งเสริมการรับรู้เหตุผลในสิ่งที่เรียนความขัดแย้งด้าน การรู้คิด การค้นหาความรู้เพิ่มเติมและการสื่อสารกันด้วยหลักเหตุผลเมื่อมีการสรุปผลทักษะแห่งความร่วมมือระดับที่สี่ที่ทำให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมในการโต้แย้งทางวิชาการได้ประเด็นสำคัญที่สุดบางประการของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อสมาชิกกลุ่มท้าทายการสรุปผลและการให้เหตุผลของกันและกันอย่างคล่องแคล่วการโต้แย้งทางวิชาการทำให้สมาชิกกลุ่ม "เจาะลึก" เนื้อหาความรู้ที่เรียนและดมหลักเหตุผลในข้อสรุปคิดแบบแยกเกี่ยวกับปัญหาหาข้อสนเทศเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนจุดยืนของตน และอธิบายโต้แย้งสร้างสรรค์ เกี่ยวกับทางเลือกของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทักษะที่เกี่ยวข้องกับการโต้แย้งทางวิชาการได้แก่
                 การวิจารณ์ความคิด โดยไม่วิจารณ์คน
                 แบ่งแยกความต่างเมื่อมีความเห็นขัดแย้งขึ้นในกลุ่มการเรียนรู้
                 บูรณาการความคิดหลายความคิดให้เป็นจุดยืนเดียว
                 ขอคำชี้แจงในเรื่องการสรุปผลหรือคำตอบของสมาชิกขยาย ความสรุปหรือคำตอบของสมาชิกอื่นโดยเพิ่มเติมข้อมูลหรือแสดงในที่ นอกเหนือออกไป
                  ตรวจสอบโดยการตั้งคำถามซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกลงไปหรือการวิเคราะห์("มันจะได้ผลหรือไม่ในสถานการณ์นี้.." "มีอย่างอื่นอีกหรือไม่ที่ทำให้คุณเชื่อ..?")
                  ให้คำตอบลึกลงไปอีกโดยเจาะลึกลงไปนอกเหนือคำตอบหรือข้อสรุปและให้คำตอบที่มีความเป็นไปได้หลายๆคำตอบให้เลือก
                  ทดสอบความจริงโดยการตรวจสอบงานของกลุ่มในเรื่องวิธีการทำงานเวลาที่มีและปัญหาที่กลุ่มเผชิญ

                 ทักษะความร่วมมือช่วยให้สมาชิกกลุ่มมีแรงจูงใจในการให้คำตอบที่ดีมีคุณภาพสูงนอกเหนือจากคำตอบที่ตอบออกมาอย่างฉับพลัน โดยการกระตุ้นการคิดและความรู้อยากเห็นทางพุทธิปัญญาของสมาชิกกลุ่ม

การเรียนรู้แบบร่วมมือ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเรียนรู้แบบร่วมมือ

การเรียนรู้แบบร่วมมือ

                ประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือได้รับการยืนยันจากการวิจัยทางการศึกษาวิจัยในห้องทดลองและในภาคสนามการศึกษาสห สัมพันธ์ที่แสดงว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือมีผลในห้องเรียนจริง ๆ Johnson and Johnson (1994) สรุปว่าการวิจัยเชิงสาธิตแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ 1) การประเมินผลรวมได้ผลว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็น ประโยชน์ 2) การประเมินผลรวมเชิงเปรียบเทียบได้ข้อสรุปว่ากระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือดีกว่ากระบวนการเรียนรู้แบบอื่น ๆ 3) การประเมินผลระหว่างเรียนให้ผลที่ จุดมุ่งหมายที่การพัฒนาการการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและ 4) การศึกษาผลกระทบของการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผู้เรียน การเรียนรู้แบบร่วมมืออาจใช้ได้ดีกับทุกระดับทุกเนื้อหาวิชาและทุกงานด้วยความมั่นใจความร่วมมือเป็นความพยายามของมนุษย์โดยทั่วไปซึ่งส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ต่าง ๆทางการศึกษาผลลัพธ์นี้ Johnson and Johnson (1994a) สรุปได้ 3 ประเภทคือ ความพยายามที่จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ สัมพันธภาพทางบวกระหว่างบุคคลและสุขภาพจิต 

อัธยาตมวิทยา : ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน


อัธยาตมวิทยา : ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน
           นิรมล ตีรณสาร สวัสดิบุตร (2548 : 7 -8) ได้กล่าวไว้ว่าหนังสืออัธยาตมวิทยา (อ่านว่า อัด-ทะ-ยาต-ตะ-มะ-วิด-ทะ-ยา) หมายถึงความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคนซึ่งเป็นความรู้ที่ผู้เป็นครูจำเป็นต้องรู้เพราะทำนายกับคนเป็นตำราวิชาครูของกรมศึกษาธิการที่เขียนโดย คุณจรัญชวนะพันธ์(สารท สุทธเสถียร) พิมพ์เผยแพร่ในปี ร.. 125 (พ.ศ 2449) อาจารย์ผู้สอนวิชาจิตวิทยาการศึกษาในสถาบันผลิตครูยิ่งควรอ่าน และเชิญชวนให้นิสิตนักศึกษาอ่านด้วยและเสนอแนวคิดเพิ่มเติมว่าในการเขียนตำราควรอ่านและปรับปรุงตำรา ให้ทันสมัยเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมพยายามให้ได้ใจความและเลือกสรรเฉพาะเรื่องที่จำเป็นสำหรับครูจริงตลอดจนการใช้วิธีเขียนและภาษาที่เข้าใจง่ายเช่นเดียวกับตำราอัธยาตมวิทยานี้ แสดงตัวอย่างไว้หนังสืออัธยาตมวิทยา แบ่งออกเป็นตอนใหญ่ๆ10 ตอน คือ
1.       วิทยาศาสตร์แห่งร่างกายและวิทยาศาสตร์แห่งจิตใจซึ่งเน้นว่าครูที่ดีจะต้องรู้อาการจิตใจนักเรียนให้ละเอียดเหมือนแพทย์ที่ดีต้องดูอาการของร่างกายคนไข้
2.        ลักษณะทั้ง 3 ของจิตใจ ( ความกระเทือนใจความรู้ความตั้งใจ) มีการแบ่งชั้นของความเจริญของจิตไว้ 3 ชั้นคืออายุ 1-7 ปี 7 ถึง 14 ปีและ 14-21 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุของคนที่ที่เป็นลูกศิษย์ของครูอาจารย์
3.        ความสนใจมี 2 ชนิดคือที่เกิดขึ้นเองและที่ต้องทำให้เกิดขึ้น
4.       ความพิจารณา มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัดว่าเด็กในกรุงเทพ กับเด็กบ้านนอกมีความพิจารณาต่างกันอย่างไรและครูของเด็กทั้ง 2 พวกนี้ควรส่งเสริมเด็กต่างกันอย่างไรนอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำที่น่าสนใจสำหรับครูในการสอนวิชาต่าง ๆเช่นภูมิศาสตร์ ไวยากรณ์พงศาวดาร การเขียนลายมือ และการวาดรูป
5.       ความเจริญของอาการทั้งห้า (รู้สึก เห็น ฟัง ชิม ดม) มีการกล่าวถึงหน้าที่ของครูในการหัตถการทั้ง 5 และบอกวิธีหัดอาการบางชนิดได้ด้วย เช่น หัดให้รู้จักสี หัดให้รู้จักรูป (การวัดการคาดคะเน) หัดให้ดูจากรูปด้วยการสัมผัส หัดอาการฟังด้วยการอ่านด้วยเพลง หัตถการดมและอาการชิม
6.       ความจำมีเรื่องลืมสนิท และไม่ลืมสนิท จำได้และนึกออก ชนิดของความจำและเครื่องที่ครูควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง คือ สิ่งที่ครูควรนับถือเป็นหลักในเวลาที่จะให้นักเรียนจำ สิ่งที่ควรให้นักเรียนท่องขึ้นใจ และสิ่งที่ไม่ควรให้นักเรียนช่อง
7.       ความคิดคำนึง วิธีฝึกหัดความคิดคำนึงให้ดีขึ้น มีการเสนอว่าบทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความคิดคำนึงของเด็กได้ดีที่สุดคือ พงศาวดาร และภูมิศาสตร์ และแม้แต่หนังสือเรื่อง ยักษ์หรือผีสางเทวดาที่ผู้ใหญ่เห็นว่าไร้สาระก็ หัดให้เด็กมีความคิดคำนึงได้
8.       ความตกลงใจ เกิดจากอาการ 2 อย่างคือ การเปรียบเทียบและการลงความเห็นมีตัวอย่างบทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความตกลงใจเช่นการเขียนหนังสือ และการวาดรูป บทเรียนสำหรับหัดมือ(พับ ตัด ปั้น) การกระจายประโยคตามตำราไวยากรณ์เลข การเล่นออกแรง
9.       ความวิเคราะห์ มีการแสดงตัวอย่างวิธีการสอน 2 แบบคือ แบบ"คิดค้น" (induction) และระบบ "คิดสอบ"  ( deduction) มีการเปรียบเทียบให้ดูว่าคิดค้นกับคิดสอบต่างกันอย่างไรและมีประโยชน์แก่การศึกษาต่างกันอย่างไร คู่จะได้เลือกว่าเมื่อใดควรให้นักเรียนคิดค้นเมื่อใดให้คิดสอบและมีตัวอย่างวิธีการสอนเรื่อง กริยาวิเศษณ์ ที่แสดงขั้นตอนการสอนให้ดู11 ขั้นตอนซึ่งเป็นการคิดค้น แล้วต่อด้วยอีก 2 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการคิดสอบ การใช้วิธีสอนรวมกันทั้งคิดค้นและคิดสอบเช่นนี้ท่านเรียกว่าวิธีสำเร็จ และบอกว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีอื่น ๆ
10.   ความเข้าใจ มีการให้ตัวอย่างคำจำกัดความ ลักษณะแห่งความเข้าใจ และบอกวิธีสอนที่จะทำให้เด็กเข้าใจได้ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูทุกคนปรารถนา


              วิชาอัธยาตมวิทยา ต่อมาเป็นวิชาจิตตะวิทยาในหลักสูตรผลิตครูในหลายสถาบันคือเรียนรู้หลักวิชาจิตวิทยาที่เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน(จรัส ชวนะพันธ์(สารท สุทธเสถียร) ขุน (2548) นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Mind Map วิเคราะห์ภาระงาน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทที่ 3 การวิเคราะห์ภาระงาน

การวิเคราะห์ภาระงาน


การวิเคราะห์ภาระงาน
การวิเคราะห์ภาระงานคล้ายคลึงกันกับการวิเคราะห์งานแต่มีระดับของการวิเคราะห์อยู่ที่ รายละเอียด-หน่วยย่อย การวิเคราะห์งานทําได้โดยการจําแนกงานออกเป็นภาระงานหลายภาระงาน จากนั้น การวิเคราะห์ภาระงานก็จะวิเคราะห์ย่อยลงถึงส่วนประกอบ โดยใช้คําถามในการวิเคราะห์เช่นเดียวกันกับการ วิเคราะห์งาน ดังนี้
ส่วนประกอบของแต่ละภาระงานคืออะไร
ส่วนประกอบแต่ละส่วนสามารถนํามาเรียงลําดับด้วยอะไรได้บ้าง
ส่วนประกอบแต่ละส่วนต้องใช้เวลาเท่าไร
ขั้นตอนที่จําเป็น (critical steps) คืออะไร และเส้นทางวิกฤติ (Critical paths) คืออะไร
ขั้นตอนที่จําเป็นหมายถึงภาระงานที่ไม่สามารถข้าม ละเว้นไม่ต้องปฏิบัติภาระงานนั้น มิฉะนั้นจะ มีผลเสียต่อผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นปัจจัยป้อนให้กับขั้นตอนต่อไป ส่วนเส้นทางวิกฤติเป็นผลต่อเนื่องจากขั้นตอนที่จําเป็น เส้นทางวิกฤติมีผลต่อโอกาสที่จะประสบผลสําเร็จ ของงานได้และในทํานองเดียวกันก็อาจเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งก็ได้
การตัดสินใจเลือกภาระงานต้องคํานึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมที่ดีต้อง แสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับ และต้องสนองจุดหมายของการเรียนรู้ไปพร้อมกัน การเลือกภาระงานอาจแบ่งภาระงานได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
      1. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สําหรับการเรียนแบบปกติ (formal)
      2. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สําหรับการฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน ( on the job training :OIT)
      3. กลุ่มภาระงานที่ไม่จัดไว้ทั้งการเรียนแบบปกติหรือ การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน เช่น ชุด การศึกษาด้วยตนเอง ฯลฯ
คําถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ภาระงาน
donal Clark, (2004 : 10) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคําถามในการวิเคราะห์
ภาระงานไว้ดังนี้ ภาระงานนี้มีความยุ่งยาก หรือซับซ้อนเพียงใด
ในการปฏิบัติงานต้องใช้พฤติกรรมใดบ้าง ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใด
ภาระงานนี้มีความสําคัญต่อการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด
แต่ละคนทําภาระงานนี้ถึงระดับใด หรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชิ้นงาน ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงาน อะไรเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่าง ๆ
หากปฏิบัติภาระงานผิดพลาดหรือไม่ปฏิบัติเลย ผลจะเป็นอย่างไร
อะไรเป็นขอบเขตของภาระงานในการปฏิบัติงานนั้น ๆ
ระดับความชํานาญที่คาดหวังในการปฏิบัติภาระงาน ควรจะอยู่ระดับใด
ภาระงานมีความสําคัญอย่างไร
สารสนเทศใดที่มีความจําเป็นต่อการปฏิบัติภาระงาน และจะได้มาจากแหล่งใด
อะไรคือเงื่อนไขในผลการปฏิบัติงาน
ในการดําเนินงานตามระบบ จําเป็นต้องมีการประสานงานกับบุคคลฝ่ายอื่น หรือภาระงานอื่น หรือไม่
ภาระงานนั้นๆ มากเกินกว่าความต้องการในด้านต่างๆหรือไม่ เช่น ด้านการรับรู้ (perceptual) ด้าน ความรู้ (Cognitive) และด้านทักษะ (psychomotor) และด้านกายภาพ (Physical)
ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใด ภายใต้กรอบเวลา เช่น รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี)
การปฏิบัติภาระงานนี้ต้องใช้เวลามากน้อยเพียงใด
ในการปฏิบัติภาระงานนี้ บุคคลต้องมีทักษะ ความรู้ และความสามารถต่างๆ อะไรเป็นพื้นฐาน เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการปฏิบัติที่ยอมรับได้ในปัจจุบันคืออะไร
และเกณฑ์ที่พึงประสงค์คืออะไร พฤติกรรมใดที่สามารถจําแนกได้ว่า ใครเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดี พฤติกรรมใดที่มีความสําคัญ ต่อผลการปฏิบัติงานตามภาระงาน