วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563


T : วิเคราะห์ภาระงาน
บทที่ 7 การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
1. นางสาวศิริลักษณ์ ชฎา
การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve Teaching )

การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve Teaching E :) การประเมินการเรียนรู้ ของตนเอง โดยกําหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ (Cognitive Domain) ของบลูม (Bloom's Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน เป็นการ ตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะ ในการทบทวนตนเองหลังการสอน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนการเรียนการสอน ระหว่างการสอน และหลังจาก สอนจบบทเรียนแล้ว การจัดกระบวนการพัฒนาการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน Glickman (2002) เสนอแนวคิดในการพัฒนาโดยใช้วิธีจัดองค์กรความรู้ด้านวิชาชีพ

2. นางสาวจุฑามาศ ภูชุม
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

วงกลมชั้นที่ 1 องค์ประกอบที่มีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งการเรียนรู้ของผู้เรียนที่อยู่ใจ เนจดศนย์รวมของกิจกรรมทุกอย่างในชั้นเรียนและในโรงเรียน การเรียนรู้ของผู้เรียนได้รับ
โดยตรงจากองค์ประกอบที่อยู่ในวงกลมชั้นที่ ประกอบด้วยหลักสูตร-เนื้อหาของสิ่งที่สอน วิธีการ สอนที่ใช้ และการวัดผล(แบบวินิจฉัย)การเรียนรู้ของผู้เรียน
Glickman (1998) เสนอแนะว่า ให้ดูจุดศูนย์กลางของวงกลมต่างๆ ที่มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน ศูนย์กลางคือเป้าหมาย วงกลมในสุดเป็นความพยายามของชั้นเรียนและโรงเรียนที่จะพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ให้ ผู้นแก่ผู้เรียนทุกคน วงกลมชั้นที่ 1 การเรียนรู้ของผู้เรียนสัมพันธ์กันโดยตรงกับ เนื้อหาที่นํามาสอน วิธีการสอน และกลวิธีที่นํามาใช้ในการประเมิน
วงกลมชั้นที่ 2 องค์ประกอบซึ่งจัดระบบภาระงานของผู้นํา (การเรียนรู้ ที่ทําต่อครูผู้สอน ซึ่งการ ปรับปรุงการสอนในชั้นเรียนประกอบด้วย จุดมุ่งเน้น (ต้องใส่ใจในเรื่องใดบ้างในการปรับปรุงการสอน การ สังเกตชั้นเรียน และการใช้ข้อมูล ผลสัมฤทธิ์ และการพิจารณาตัวอย่างชิ้นงานของผู้เรียน) แนวทางที่จะทำร่วมกับครู และโครงสร้างและรูปแบบ เพื่อจัดระบบภาระงานการปรับปรุงการสอน
จากภาพวงกลมชั้นที่ 2 จุดศูนย์กลางเดียวกันกับวงกลมแรกเพื่อพัฒนาคุณภาพการสอนในชั้นเรียน เบ่งที่จคเน้นที่ผู้สอนกำหนดให้เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ ต่อมาพิจารณาแนวทาง-วิธีการดำเนินการระหว่าง บุคคล(วิธีการสั่งการและควบคุม วิธีการสั่งการและให้ข้อมูล วิธีการแบบร่วมคิดร่วมทำและวิธี ไม่สั่งการ) ซึ่ง จะใช้กับครูที่จัดการสอนในชั้นเรียนโดยตรง และโครงสร้างและรูปแบบของวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การนิเทศ แบบคลินิก เพื่อแนะเพื่อน เพื่อผู้ติชม และกลุ่มวิจัยเชิงปฏิบัติการตามตารางที่กำหนดพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก
วงกลมชั้นที่ 3 องค์ประกอบซึ่งส่งเสริมให้การดำเนินงานครอบคลุมบริบทการปรับปรุงการสอน ประกอบด้วย ลำดับความสำคัญในการปรับปรุงโรงเรียน ที่ได้จากวิสัยทัศน์ของโรงเรียนและความจำเป็น เร่งด่วนในการพัฒนาโรงเรียน แผนการพัฒนาวิชาชีพ ทรัพยากรและระยะเวลา และการประเมินผลวิธีการ และสิ่งที่ผู้เรียนกำลังเรียนรู้อยู่และวิธีการใช้ข้อมูลจากการประเมินเป็นแนวทางในการดำเนินงานจำเป็น เร่งด่วนของโรงเรียนต่อไป
จากภาพวงกลมชั้นที่ 3 อิทธิพลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ กระบวนการปฏิรูปการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งหมดที่ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง ที่เป็นลำดับ ความสำคัญในการปรับปรุงโรงเรียน ถัดมาเป็นการพัฒนาด้านวิชาชีพครู โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมุ่งไปที่ครู ทุกคน และสุดท้ายการประเมินผลทั้งการประเมินระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของผู้เรียนทั้งหมด
Glickman, Carl D (2002 นักแปลเครือข่ายของกรมวิชาการ 2546 :131) สรปค้การ: เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับภาพองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังต่อไปนี้
1. เป้าหมายของโรงเรียนคืออะไร จะบรรลุเป้าหมายของโรงเรียนได้อย่างไร และใช้เป้าหมายอย่างไร (ช)
2. แผนพัฒนาวิชาชีพครูที่สอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียนคืออะไร แผนนี้เปิดโอกาะ บุคคลภายนอกตรวจสอบการสอนของผู้สอนและการเรียนของผู้เรียนได้อย่างไร (ฌ)
3.ประเมินความก้าวหน้าทั้งหมดมุ่งสู่เป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งโรงเรียนได้อย่าง (ญ)
4. อะไรคือจุดมุ่งเน้นในการสอนและการเรียนรู้ที่ผู้สอนทุกคนต้องปฏิบัติ (จ)
5. จะใช้รูปแบบการนิเทศแบบใด (แบบคลินิก แบบเพื่อนแนะเพื่อน แบบกลุ่มวิจัย ) และ เครื่องมือใด (การสังเกต ผลงานที่ได้รับมอบหมาย การปฏิบัติ แฟ้มผลงาน ฯลฯ) (ช)
6. จะใช้วิธีการอะไรในการทํางานร่วมกับผู้อื่น (แบบไม่สั่งการ แบบร่วมคิดร่วมทําแบบนี้ และให้ข้อมูล แบบสั่งการและควบคุม) (ฉ)
7.ผู้สอนแต่ละคนจะมีการปรับเปลี่ยนอะไร ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (ง)
 8. ผู้สอนแต่ละคนจะเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนอย่างไร (ค)
9. ผู้สอนแต่ละคนจะเปลี่ยนเนื้อหาที่สอนอย่างไร (ข)
การใช้คําถามนํานี้จะต้องคิดพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบอาจด้วยตนเองหรือร่วมกันในการ วางแผน เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการสอน พัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ และการ พัฒนาการศึกษาให้สูงขึ้นเป็นที่น่าพึงพอใจ
Ghaye, Anthony (1998) กล่าวสรุปไว้ว่า การเรียนการสอนนั้นสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ด้วยการ ทบทวนตนเอง กระบวนการทบทวนตนเองทำให้ครูเข้าใจการสอนของตัวเอง เข้าใจว่าอะไรสามารถทำได้ และอะไร ได้น้อย ช่วยให้ตัดสินใจอย่างฉลาด และเข้าใจความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและใน โรงเรียนได้ กระบวนการในการทบทวนตนเองจะก้าวหน้าไปได้ต้องอาศัยกรอบ โครงสร้างที่ดี ความท้าทาย และแรงสนับสนุน การทบทวนตนเองหลังการสอนไม่ได้เป็นเป็นเพียงการเรียนรู้จากประสบการณ์ของใคร คนใดคนหนึ่งเป็นการส่วนตัวตามลำพัง แต่เป็นการสร้างองค์ความรู้ที่มีศักยภาพที่จะช่วยให้ครูรู้แจ้งเห็นจริง และมีความมั่นใจในการทำงาน การทบทวนตนเองเป็นกระบวนการที่สร้างสรรค์ สามารถช่วยให้ครูมี วิสัยทัศน์ มองเห็นภาพการเรียนการสอนที่ดี และประคับประคองและทะนุบำรุงสถานภาพที่ดีเช่นนั้นไว้ได้ กระบวนการทบทวนตนเองจะต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ การจะปฏิบัติให้ได้ประโยชน์สูงสุดจะต้องปฏิบัติ อย่างสม่ำเสมอ และการทบทวนตนเองหลังการสอนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตั้งข้อสงสัยหรือทบทวนสิ่งที่ครู และโรงเรียนปฏิบัติอยู่ เป็นการถามถึงวิธีการและเป้าหมายของการศึกษา
Schon, (1983) อธิบายว่า การใช้ความคิดพิจารณาระหว่างการเรียนการสอนเรียกว่า “การทบทวนตนเองระหว่างงการสอน” (reflection-in-action) ส่วนการคิดไตร่ตรองหลังการเรียนการสอน เรียกว่า “การทบทวนตนเองหลังการสอน” (reflection - on practice) ซึ่งจะเกิดขึ้น

3. นางสาวกัญญารัตน์ งามเลิศ
การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน

การประเมินการเรียนรู้ จะต้องให้ข้อมูลย้อนกลับว่าการจัดการเรียนรู้บรรลุพันธกิจหรือไม่ มีความ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของโปรแกรมการศึกษา การประเมินเพื่อพัฒนา ประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้ เขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้

Ghaye, T (1995) เสนอแนวคิดการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน จะต้องพิจารณาคำถาม 5ข้อ คือ
1. คําถามเกี่ยวกับเวลา
       การปรับปรุงควรจะเกิดขึ้นเมื่อไร
       ผลของการปรับปรุงควรจะได้ผลอย่างชัดเจนเมื่อไร
2. คําถามเกี่ยวกับขนาดของงาน
       ขอบเขตของการปรับปรุงควรมีขนาดเท่าไร เพียงใด
       ผู้เกี่ยวข้องมีกี่คน จะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
        ผลของการปรับปรุงที่คาดการณ์ไว้มีลักษณะอย่างไร มีความสําคัญเพียงใด และให้ผลอะไร ในด้านการศึกษา
3. คําถามเกี่ยวกับความไม่แน่นอน
       จะแน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม การปฏิบัติ แรงจูงใจ หรือ ทิศทางใหม่เป็นการปรับปรุงจริงๆ
       จะตรวจสอบจากหลักฐานใดว่ามีการปรับปรุงเกิดขึ้นแล้ว
       มีความเข้าใจในความเกี่ยวโยงกันระหว่างสิ่งที่รู้สึกว่าพัฒนาแล้วกับการพัฒนาที่ชัดเจน เมื่อ มองในแง่ของคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
         การพัฒนาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นจริง หรือเป็นเพียงจินตนาการ
4. คำถามเกี่ยวกับการเมืองในโรงเรียน
การเมืองในโรงเรียนมีความสำคัญต่อความพยายามในการปรับปรุงเนื่องจากการปรับปรุงมี แนวคิดพื้นฐานมาจากค่านิยมและเป็นกระบวนการที่มีระบบ บุคคลในองค์กรจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และต้องการที่จะปฏิบัติตามแนวคิดของตน การเข้าใจการเมืองที่อยู่เบื้องหลังความพยายามในการปรับปรุง เท่ากับยอมรับว่าในโรงเรียนย่อมมีการช่วงชิงกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ การทบทวนจะทำให้เกิดคำถาม เชิงการเมือง เพราะการปรับปรุงเกี่ยวกับ “ผลประโยชน์” “อำนาจ” และการแก้ปัญหาเรื่อง ความขัดแย้ง เมื่อมี การปรับปรุง คำถามคือ ใครจะได้ผลประโยชน์อะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และเพราะเหตุใด
5. คำถามเกี่ยวกับการลงลึกในการปฏิบัติการ
ถ้าการปรับปรุงมีจุดอ่อนและมีแรงกดดันจากภายนอก การปรับปรุงก็จะมีลักษณะฉาบฉวย จนทำให้ละเลยสิ่งที่เป็นรากฐานที่ควรให้ความสนใจ สิ่งสำคัญจะต้องทำความเข้าใจว่า การปรับปรุงโรงเรียน และการปฏิรูปในโรงเรียนแตกต่างกัน โดยที่การปฏิรูปมีผลลึกซึ้งและเป็นการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาที่มี ผลกระทบต่อทุกคนในองค์กร การเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งนี้ มักจะเกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างและ อิทธิพลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การเน้นที่การพัฒนาภายในมากเกินไปจะไม่นำไปสู่การปฏิรูป โรงเรียน การปรับปรุงในวงที่กว้างออกไปจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิรูป

การประเมินที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีความชัดเจนของจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ เป็นข้อความเกี่ยวกับการศึกษาที่แสดงถึงความมุ่งมั่นเจตนาที่ตั้งใจให้ เกิดขึ้น เช่น ความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะด้านการสร้างสรรค์และ นวัตกรรม เป็นต้น
วัตถุประสงค์การเรียนรู้เป็นข้อความที่มีความเฉพาะให้รายละเอียดที่ได้มาจากจุดมุ่งหมาย ใช้เขียน บรรยายพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องกระทำ เช่น ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการรวบรวม จัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนนำไปใช้ในการตัดสินใจผู้เรียนสามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูล
ผลการเรียนรู้ เป็นชุดรายละเอียดที่ผู้เรียนสามารปฏิบัติได้หลังจากได้เรียนในรายวิชา หรือหน่วย การเรียนในหลักสูตรรายวิชาผลการเรียนรู้จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสำเร็จขั้นต่ำของผู้เรียนที่แสดง ออกเป็นรูปธรรมได้
ความสัมพันธ์ของจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และผลการเรียนรู้ เขียนในรูปวัฏจักรการประเมินการ เรียนรู้ สรุปได้ดังภาพประกอบ ต่อไปนี้

รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิด Outcome Driven Model
การตรวจสอบความเข้าใจ และการสรุปความรู้ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการเรียนรู้ ใช้แนวทางการประเมินการเรียนรู้ ตามแนวคิด Outcome Driven Model

4. นางสาวณิชกมล คำเพชรดี
หลักการประเมินผลการเรียนรู้

การประเมินผลการเรียนรู้นั้นควรจะเป็นกระบวนการที่มีหลักการมารองรับเสมอ หลักการที่จะ ควบคุมกระบวนการการประเมินผลการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้
1. การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนที่ชัดเจน การประเมินลักษณะความสามารถ ของผู้เรียนและองค์ประกอบอื่นๆด้านการเรียนการสอนนั้นต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนซึ่งสอดคล้องกับ จุดประสงค์ของโรงเรียนและของชาติ องค์ประกอบสำคัญของกระบวนการทางการศึกษาควรมีโครงร่างที่ เหมาะสมและความก้าวหน้าและพัฒนาการของผู้เรียนควรเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก
2. ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน การ ประเมินผลควรมีการนำเอาองค์ประกอบที่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติของผู้เรียนที่เฉพาะเจาะจงตามที่ระบุไว้ใน จุดประสงค์มาพิจารณาเพื่อเลือกขั้นตอนในการประเมินผลที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม
3. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจได้ การประเมินผลควรจะครอบคลุมองค์ประกอบด้าน ความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างกว้างขวาง ควรจะประเมินพัฒนาการของนักเรียนในผลการเรียนรู้คาดหวังทุก ข้อ การประเมินผลไม่ควรจะยึดตามการพัฒนาทางปัญญาเช่นความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการคิดเท่านั้น แต่ควร จะรวมถึงการพัฒนาด้านจิตใจ และทักษะ เช่นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรมและการปฏิบัติจริงอีกด้วย
4. การประเมินผลควรทำอย่างต่อเนื่อง การประเมินผลควรทำอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมและ ประเมินพัฒนาการของผู้เรียน การประเมินผลควรจะทำคู่ขนานไปกับกระบวนการในการศึกษาที่ผู้เรียนได้รับ การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
5. การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้ กระบวนการประเมินผลควรสามารถที่ จะเจาะลึกถึงธรรมชาติของสถานการณ์การเรียนการสอนได้เช่นเดียวกับสาเหตุของปัญหาที่ขัดขวาง ประสิทธิภาพของกระบวนการการเรียนรู้และพัฒนาการที่เหมาะสมของนักเรียนในชั้นเรียน ควรจะให้ข้อมูล ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ดี อย่างไรก็ตามข้อมูลที่รวบรวมผ่านกระบวนการการประเมินผล ไม่ควรที่จะนำมาใช้เพื่อเก็บบันทึกเพียงอย่าง เดียว แต่ควรถูกนำมาใช้ ประยุกต์ หรือตอบสนองเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียน วิธีการสอน และเรื่องอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องที่จะส่งผลต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียน
6. การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน การประเมินผล ไม่ควรจะเป็นการทำงานของ บุคคลเพียงไม่กี่คน โดยควรจะเป็นความพยายามร่วมกันของทุกคนที่เกี่ยวข้องในการเรียนการสอนใน หลักสูตรของโรงเรียน เพื่อให้การประเมินผลมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และตัวผู้เรียนเองและแม้กระทั่งคนในชุมชนหากจำเป็นควรจะทำงานร่วมกันเพื่อการประเมินผลการพัฒนา และความก้าวหน้าของผู้เรียนที่ดีขึ้น
7. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำให้การ จะกลที่สมบูรณ์แบบ ผลการประเมินไม่ได้ให้ข้อมูลโดยตรงเสมอไปเพราะเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลไม่ได้มีความแม่นยำที่สุดอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในการประเมินผล การตัดสินที่รอบคอบและเฉียบขาดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

5. นางสาวปิยธิดา นรากุล
การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร

นิยาม “การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร (Curriculum Based Assessment; CBA) คือ การให้ผู้เรียน ตามกิจกรรมที่ออกแบบให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ใช้ จากนั้นนำผลการทดสอบไปใช้ปรับปรุงการ 4การสอนให้ตอบสนองความต้องการจำเป็นของนักเรียน ผู้สอนนำผลการประเมินตามหลักสูตรมาใช้เพื่อ ปรับเปลี่ยนการสอนของตนเอง เพื่อช่วยผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องต่อไป หรือกรณีที่ผู้เรียนที่มีความ พร้อมและต้องการก้าวหน้ายิ่งขึ้น นักการศึกษาใช้การประเมินตามหลักสูตรเพื่อช่วยให้อัตราการพัฒนาการ เรียนการสอนสูงขึ้นได้ รวมถึงการปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน ด้วยการสังเกตและบันทึกการปฏิบัติของ นักเรียนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมได้จะช่วยในการตัดสินใจ เกี่ยวกับการเรียนการสอน (Deno, 1987, p. 41). ในการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรนั้นการตัดสินใจ เกี่ยวกับการสอนขึ้นอยู่กับข้อมูลย้อนกลับที่ได้จากการประเมินความสามารถของผู้เรียนที่ระบุไว้ในหลักสูตร เป้าหมายแรกคือ แนวทางในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน (Blankenship, 1985; Graden, Zins, & Curtis, 1988; Marston & Magnusson, 1985) ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนตรงกับความต้องการของ ผู้เรียน อันเป็นการเพิ่มโอกาสที่ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรมีจุดเด่นที่บอกถึงภาระงานใดที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนา ความสามารถตามที่หลักสูตรกำหนด การเลือกภาระงาน และกระบวนการใช้คะแนนมาตรฐาน และการ บริหาร ใช้การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างไรนั้นก็แล้วแต่สถานการณ์ อาจใช้ข้อมูลที่ได้จากการ ประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ให้โปรไฟล์ของผู้เรียนได้ทั้งในระดับรายบุคคล ระดับชั้นเรียน ระดับ สถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลจากการประเมินตามหลักสูตรสามารถใช้เป็นกลุ่ม เปรียบเทียบ (norm-referenced manner) ที่ใช้เปรียบเทียบคะแนนของผู้เรียนรายบุคคลมา (Shinn, 1988) หรือ ใช้เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ (criterion-referenced manner) ความสามารถของผู้เรียน อันเป็นผลมาจากการเรียน การสอนที่สัมพันธ์สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียน (Shinn & Good, 1992),
การประเมินผลการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษากรอบที่ใช้ในการอ้างอิงทฤษฎี ผลการศึกษาวิจัยของเควิด นิโคล (David Nicol University of Strathclyde สรุปเป็นหลักการป การให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดี 10 ข้อ ดังนี้
1. ให้ความชัดเจนว่าการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร (เป้าหมาย เกณฑ์การวัด เกณฑ์มา ขอบเขตของสิ่งที่ผู้เรียนต้องทําในหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของเก ระหว่าง และหลังการประเมินผลแค่ไหน
2. ให้ “เวลาและความพยายาม” กับการเรียนรู้สิ่งที่ท้าทาย ขอบเขตของงานที่มอบหมา กระตุ้นการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน อย่างลึกซึ้งแค่ไหน
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับคุณภาพสูงที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตรวจสอบความถูก ตนเอง ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับหรือไม่ อย่างไร และความคิดเห็นดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนสามา และปรับปรุงด้วยตนเองได้อย่างไร
4. สร้างความเชื่อที่เป็นแรงบันดาลใจและความเคารพตนเองในทางบวก ขอบเขต ประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนและความสําเร็จแก่ผู้เรียนได้แค่ไหน
5. สนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยในเรื่องการเรียนการสอน (เพื่อน และคะ นักเรียน) มีโอกาสใดบ้างสําหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผลในรายวิชาที่
สอน
6. อํานวยความสะดวกในการพัฒนาการประเมินตนเองและการสะท้อนความคิดทางด้านการ เรียน ขอบเขตของโอกาสอย่างเป็นทางการสําหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับ การประเมินตนเอง การประเมิน โดยเพื่อนในวิชาที่เรียนมีแค่ไหน
7. ให้โอกาสผู้เรียนเลือกการประเมินผล - เนื้อหาและกระบวนการ ขอบเขตของผู้เรียนสําหรับ การเลือก หัวข้อ วิธีการ เกณฑ์การวัดผล ค่าน้ําหนักคะแนน กําหนดเวลา และงานที่มอบหมายเพื่อการ ประเมินผล (งานที่ใช้ประเมินผลการประเมินผลงาน)ในรายวิชาที่สอน มีมากน้อยเพียงใด)
8. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการประเมินผลและการปฏิบัติขอบเขต ของข้อมูลที่ผู้เรียนได้รับหรือมีการส่วนร่วมให้คําปรึกษาเพื่อการตัดสินใจเรื่องการประเมินผลมีหรือไม่ อย่างไร
9. สนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ขอบเขตของการประเมินผลและการให้ข้อมูล ย้อนกลับช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้มีมากน้อยเพียงใด
10. ช่วยครูผู้สอนในการปรับการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน
ดังนั้นการประเมินผลจะมีหลักการ กระบวนการประเมินการเรียนรู้  ดังต่อไปนี้
1.การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนชัดเจน
2. ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน
3. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจได้ตรงกัน
4. การประเมินผลควรทำอย่างต่อเนื่อง
การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้
6. การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน
7. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ

6. นางสาวธิดารัตน์ มะละกา
การวัดและการประเมินผล

การวัดการประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรรับครูผู้สอน ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและการประเมินผล จะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ความสามารถของผู้เรียนตลอดจนใช้เป็นวิธีการในการ
ปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่า ได้ดำเนินการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ ไม่ ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดำเนินการวัดและการ ประเมินผล ได้เป็นอย่างดี
การวัดเป็นกระบวนการเชิงปริมาณในการกำหนดค่าเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทน คุณลักษณะของสิ่งที่วัด โดยอาศัยกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ส่วนคำว่า “การประเมินผล” นั้นเป็นการตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของวัตถุสิ่งของ โครงการการศึกษาพฤติกรรมการทำงานของคนงานหรือความรู้ความสามารถของนักเรียน
จุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผล
การวัดและการประเมินผลการศึกษาหรือการเรียนการสอนหรือที่ในปัจจุบันใช้คําว่าการจัดการ เรียนรู้เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้
1. การจัดตำแหน่ง (Placement) เป็นการวัดและการประเมินผลโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อจัด หรือแบ่งประเภทผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความสามารถอยู่ตรงระดับไหนของกลุ่มเก่ง ปานกลาง หรืออ่อน มาก น้อยเท่าใด ซึ่งสามารถใช้ได้หลาย ๆ กรณี ตัวอย่างเช่น เมื่อจะรับผู้เรียนเข้าสถานศึกษา ผู้เรียนแต่ละคนจะมี ความแตกต่างกันทั้งด้านสติปัญญา ความสนใจ ความถนัด รวมทั้งบุคลิกภาพด้านต่างๆ ที่จะต้องมีการ กดเลือกว่าจะรับผู้เรียนประเภทใดหรือไม่รับประเภทใดและถ้ารับเข้ามาแล้วจะจัดแบ่งสาขาวิชาหรือชั้นเรียน อย่างไร ดังนั้นผู้สอนหรือสถานศึกษาก็จะสามารถใช้การวัดและการประเมินผลมาเป็นเกณฑ์ในการจัดหรือแบ่งประเภทได้อย่างยุติธรรม
2. การวินิจฉัย (Diagnosis) คําๆนี้ มักจะใช้ในทางการแพทย์ โดยเมื่อแพทย์ตรวจคนใช้แล้ว แพทย์ จะต้องวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นโรคอะไร หรือมีสาเหตุอะไรที่ทําให้ไม่สบาย ซึ่งจะเป็นการหาสมมติฐานของโรค เพื่อนําไปสู่การรักษา สําหรับในทางการศึกษานั้น การวัดและการประเมินผลที่เป็นไปเพื่อการวินิจฉัยว่า ผู้เรียนคนใดมีความสามารถทางด้านใดและเมื่อสอนไปแล้วในแต่ละวิชามีส่วนใดที่ผู้เรียนเข้าใจ ชัดเจน ถูกต้องหรือไม่เข้าใจ เข้าใจยังไม่ถูกต้อง ผู้สอนจะได้สอนหรือแนะนําทําความเข้าใจใหม่ได้ถูกต้อง
3. การเปรียบเทียบ (Assessment) จุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผลในข้อนี้เป็นไปเพื่อการ เปรียบเทียบความเจริญงอกงามหรือพัฒนาการของการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการที่ผู้สอนอาจจะสอบวัด ความรู้ความสามารถของผู้เรียนไว้ก่อนเมื่อเริ่มเรียนแล้ว หลังจากนั้นเมื่อเลิกเรียนไปแล้วระยะหนึ่ง หรือเมื่อ เรียนไปจนจบแล้วผู้สอนอาจจะสอบเพื่อวัดและประเมินผลอีกครั้งว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งการกระทําเช่นนี้เป็นการแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเปรียบเทียบจาก ผลการสอบก่อนเรียนกับผลการสอบหลังจากที่เรียนไปแล้ว
4. การพยากรณ์ (Prediction) เป็นการวัดหรือประเมินผลเพื่อช่วยในการพยากรณ์ทํานายหรือ คาดการณ์และแนะนําว่าผู้เรียนคนนั้นๆ ควรจะเรียนอย่างไร จึงจะประสบความสําเร็จและสอดคล้องกับ ความสามารถ ความถนัดหรือความสนใจของแต่ละบุคคล ในทางจิตวิทยาการศึกษานั้นเชื่อกันว่าคนเราทุกคน มีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน ดังนั้น หากสามารถจัดการศึกษา หรือการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ ความถนัด ความสนใจ หรือความรู้ความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนได้ ก็จะทําให้การศึกษาหรือการเรียนรู้ ในเรื่องนั้นๆ ได้รวดเร็วและประสบความสําเร็จในการเรียนได้เป็นอย่างดี
5. การป้อนผลย้อนกลับ (Feedback) เป็นการวัดและการประเมินผลเพื่อนําผลประเมินที่ได้ไปใช้ใน การปรับปรุง การจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อๆ ไป ผลย้อนกลับนี้มีได้ทั้งส่วนที่เป็นของผู้สอนและส่วนที่ เป็นของผู้เรียน ในส่วนของผู้สอนเมื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านไปแต่ละบทเรียนหรือเมื่อจบการเรียนการ สอนแล้ว ผู้สอนควรมีการวัดและประเมินผลเพื่อดูว่าเทคนิค วิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน เนื้อหาหรือ กิจกรรมที่จัดให้กับผู้เรียนนั้นเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์หรือไม่ อย่างไร มีส่วนใดบ้างที่จําเป็นต้อง ปรับปรุงแก้ไขส่วนใดบ้างที่ดีอยู่แล้ว สําหรับในส่วนของผู้เรียนนั้น เมื่อมีการวัดและการประเมินผลแล้ว ผู้เรียนก็จะได้รับรายงานผลของตนเอง ทําให้ทราบว่าตนเองนั้นมีความรู้ระดับใด และมีเรื่องใดบ้างที่เรียนรู้ แล้วเข้าใจชัดเจน เรื่องใดบ้างที่ยังต้องการศึกษาเพิ่มเติมอีก ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้เรียนในการศึกษา ขั้นสูงต่อๆ ไป
6. การเรียนรู้ (Learning Experience) เป็นการวัดและการประเมินผลที่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นตัวกระตุ้น ในรูปแบบต่างๆ ที่ทําให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีแล้วยังทําให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีของผู้เรียนอีกด้วย เนื่องจาก ในกรณีที่มีการสอบเพื่อวัดและประเมินผลนี้ ก่อนสอบผู้เรียนจะต้องมีการเตรียมตัวสอบจะต้องมีการทบทวน เนื้อหาวิชาที่เรียนศึกษาค้นคว้า และเมื่อผู้เรียนเข้าทําข้อสอบ ต้องใช้ความคิดในหลายๆ แง่มุม เช่น คิดแก้ปัญหา คิดคํานวณ คิดหาสรุป เป็นต้น ซึ่งการคิดเหล่านี้เป็น การที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพ

การวัดและการประเมินผลนอกจากจะมีจุดประสงค์ดังกล่าวแล้ว บลูม (Bloom, 1971, p.56) ได้เสนอ ประสงค์ที่จะทําการวัดและการประเมินผล โดยเน้นที่จุดประสงค์หรือพฤติกรรมที่ต้องการวัดได้ ไว้ดังนี้
1.      วัดทางปัญญาหรือพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
2        วัดทางความรู้สึกนึกคิดหรือจิตพิสัย (Affective Domain)
3.วัดความสามารถในการใช้อวัยวะต่างๆ หรือทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและการประเมินผล
เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนนั้นมีมากมายหลาย ชนิด แต่ที่รู้จักและนิยมใช้กันเป็นส่วนมาก ได้แก่
1. การสังเกต เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าของผู้สังเกต สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนใน สภาพการณ์ที่เป็นจริงทั้งในและนอกห้องเรียนการสังเกตโดยทั่วๆ ไปเป็นการเฝ้าดูพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ถูก สังเกต ซึ่งอาจจะเฝ้าดูไปตามเรื่องไม่ได้กําหนดหรือวางแผนว่าจะสังเกตอะไร อย่างไร สังเกตอะไรก่อน-หลัง เมื่อมีพฤติกรรมอะไรเกิดขึ้นก็สังเกตและจดบันทึกไว้ทั้งหมดหรืออาจจะเฝ้าดูอย่างมีแผนการ กําหนดไว้ แน่นอนว่าจะสังเกตอะไรบ้างและสังเกตอย่างไร ตัวอย่างเช่น ต้องการจะวัดว่าผู้เรียนคนใดคนหนึ่งมี พฤติกรรมก้าวร้าวอย่างไรบ้าง อาจกําหนดแผนงานในการสังเกตเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อคอยสังเกต พฤติกรรมก้าวร้าวของผู้เรียนคนนั้นว่าแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวอะไรออกมาบ้าง และมีการแสดงออกอย่างไร พร้อมทั้งจดบันทึกผลไว้แล้วนํามาประเมินผลในภายหลัง เป็นต้น การสังเกตทั้งสองวิธีนี้มีทั้งข้อดีและ ข้อบกพร่องแตกต่างกัน คือ การสังเกตอย่างไม่มีแผนล่วงหน้า อาจจะเสียเวลาน้อย แต่จะได้พฤติกรรมที่ เกิดขึ้นอย่างมาก โดยที่บางพฤติกรรมอาจไม่ตรงกับที่ต้องการจะสังเกตก็ได้ ส่วนการสังเกตอย่างมีแผนการ จะเสียเวลาเฝ้าคอยพฤติกรรมนั้นๆ นาน แต่จะได้เฉพาะพฤติกรรมที่ต้องการสังเกตจริงๆ เท่านั้น
2. การสัมภาษณ์ เป็นการพูดคุยซักถามกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนมีการซักถามโต้ตอบซึ่งกัน และกัน การสัมภาษณ์ อาจทําได้สองแบบเช่นเดียวกัน คือ แบบไม่มีแบบแผนและแบบมีแผน โดยเฉพาะแบบ แผนนั้น จะกระทําเพื่อหาข้อมูลบางอย่างโดยมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน มีแนวการสัมภาษณ์และกําหนดเป็น คำถามไว้ล่วงหน้า ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย โดยจะใช้การถามเพื่อล้วงหาคําตอบแบบหยั่งลึกก็ได้ การสัมภาษณ์วิธีการบันทึกผลการสัมภาษณ์และการตั้งเกณฑ์สําหรับคนที่จะผ่านการสัมภาษณ์ด้วย การวัดและการสัมภาษณ์ประเมินผล โดยใช้การสัมภาษณ์นี้มีข้อดีตรงที่ผู้สัมภาษณ์จะได้ผลจากการสัมภาษณ์ที่เป็นข้อมูลสภาพจริง ของผู้ตอบ ได้ทราบความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อย่างใกล้ชิดแต่อาจต้องใช้เวลามาก
3. การให้ปฏิบัติ เป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติให้ดูว่าสามารถทําได้ตามที่เรียนรู้หรือไม่ เช่น การสอนเขียนแบบ เมื่อผู้สอนสอนหลักการไปแล้วก็ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเขียนแบบตามหลักการที่สอนมา ให้ดู เป็นต้น การวัดโดยให้ปฏิบัติและประเมินผลจากผลการปฏิบัตินั้นๆ ถือเป็นวิธีการวัดและประเมินผลที่ดี อีกวิธีหนึ่งในบางสาขาวิชา โดยเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการสอนทักษะต่างๆ
4. การศึกษากรณี เป็นเทคนิคการศึกษาแก้ปัญหา หรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งโดย ละเอียดลึกซึ้งเป็นรายๆ ไป เช่น การค้นหาสาเหตุของผู้เรียนที่มาโรงเรียนสายเป็นประจําหรือผู้เรียนที่ไม่ ตั้งใจเรียนและชอบหนีโรงเรียน เป็นต้น ในการศึกษาจะใช้เทคนิคและเครื่องมือหลายชนิดมารวบรวมข้อมูล ในเรื่องต่างๆ ที่ศึกษาและบันทึกผลไว้ แล้วนํามาวิเคราะห์ สรุปหาสาเหตุของปัญหาหรือประเด็นที่ต้องการ ศึกษาอย่างแท้จริง
5. การให้จิตนาการ เป็นเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาที่สร้างขึ้นเพื่อล้วงความรู้สึกนึกคิดของผู้ถูกวัด ออกมาอย่างไม่ให้เจ้าตัวรู้สึกและให้เจ้าตัวเห็นว่าเป็นความรู้สึกหรือปฏิกิริยาของคนอื่น การวัดและการ ประเมินผลด้วยวิธีนี้มักใช้วัดทางด้านบุคลิกภาพ เช่น เจตคติ ความสนใจ อารมณ์ ค่านิยม นิสัยและอุปนิสัย เป็นต้น การให้จินตนาการมีหลายแบบ เช่น แบบเติมประโยคให้สมบูรณ์ แบบให้แสดงออกหรืออธิบายภาพ ที่เลือนลาง แบบเรียงลําดับ เป็นต้น การให้จินตนาการนี้เหมาะสําหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด หรือลําบากใจ ในการโต้ตอบซักถามได้เป็นอย่างดี เพราะจะทําให้ได้การวัดและการประเมินผลที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงความ จริงมากที่สุด
6. การใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีที่จะต้องมีแบบสอบถามเป็นชุดของคําถามที่ถูกจัดเรียงไว้อย่าง เป็นระบบระเบียบ พร้อมที่จะส่งให้ผู้ตอบอ่านและตอบด้วยตนเอง คําถามที่ใช้จะเป็นคําถามที่ใช้ถาม ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คําถามใน แบบสอบถามนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ แบบคําถามเปิด ผู้ตอบต้องหาคําตอบมาใส่เองและแบบคําถามปิดผู้ตอบเลือกตอบจากคําตอบที่ กําหนดให้
การประเมินผลตามระบบการวัดผล
ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น จะต้องมีการวัดและการประเมินผลเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงสัมฤทธิผล ในการเรียนรู้ของผู้เรียนและประสิทธิภาพของผู้สอน ดังนั้นเมื่อมีการวัดผลด้วยเครื่องมือเทคนิควิธีใดๆ แล้ว จะต้องนําผลที่ได้จากการวัดนั้นมาประเมินผลด้วยระบบการวัดผลมาตรฐานซึ่งได้แก่
1. การประเมินผลแบบผลแบบอิงกลุ่ม เป็นการประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบผลงานหรือคะแนน ของผู้เรียนแต่ละคนกับผู้เรียนคนอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน โดยใช้งานหรือแบบทดสอบชนิดเดียวกันหรือฉบับเดียวกัน จุดมุ่งหมายหลักของการประเมินผลแบบนี้เพื่อต้องการจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่มนั้นๆ ตาม " ตั้งแต่สงสุดจนถึงต่ำสุด โดยยึดระดับผลสัมฤทธิ์ เช่น การสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อใน จะมีการแปลคะแนนของผู้สอบออกมาในรูปของคะแนนมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นการจัดคะแนนในรูปของเปอร์เซนไทล์ หรือ เดไซค์ก็ได้ แบบทดสอบสําหรับการประเมินผลประเภทนี้ ควรมีความยากง่ายพอเหมาะยากง่ายพอเหมาะ คือไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป ค่าที่พอเหมาะคือค่าความยากง่ายที่ 50 % ค่าอำนาจจำแนกสูง ดังนั้นการได้คะแนนสูงหรือต่ำของผู้เรียนจะถือว่าเป็นเพราะความแตกต่างของตัวผู้เรียน ความเป็นมาตรฐานของข้อสอบที่สามารถแยกให้เห็นถึงความแตกต่างของคะแนนได้ การ ผลมแบบอิงกลุ่มนี้จะบอกได้แต่เพียงว่า ผู้เรียนคนหนึ่งสามารถทำได้ถูกต้องกว่าคนอื่นๆ อยู่กี่คน โดยไม่สามารถบอกได้ว่าผู้เรียนทําแบบทดสอบได้ถูกต้องทุกข้อ หรือถูกต้อง 70% หรือ 30%
2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กําหนดขึ้น เพื่อดูว่า หรือการสอบของผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่กําหนดไว้หรือไม่เพียงใด โดยไม่คํานึงถึงอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน มาอย่างเช่น การสอบวิชาหลักการสอนให้ผ่าน จะต้องได้เกรดไม่ต่ํากว่า 2 หรือ C. คนที่สอบได้เท่ากับหรือ มากกว่า 2 หรือ C. ถึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น