1. นางสาวธิดารัตน์ มะละกา
คําถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ภาระงาน
donal Clark, (2004 : 10) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคําถามในการวิเคราะห์ภาระงานไว้ดังนี้
1.
ภาระงานนี้มีความยุ่งยาก หรือซับซ้อนเพียงใด
2.
ในการปฏิบัติงานต้องใช้พฤติกรรมใดบ้าง
3.
ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใด
4.
ภาระงานนี้มีความสําคัญต่อการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด
แต่ละคนทําภาระงานนี้ถึงระดับใด
หรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชิ้นงาน ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงาน
อะไรเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่าง ๆ
1.
หากปฏิบัติภาระงานผิดพลาดหรือไม่ปฏิบัติเลย ผลจะเป็นอย่างไร
2.
อะไรเป็นขอบเขตของภาระงานในการปฏิบัติงานนั้น ๆ
3.
ระดับความชํานาญที่คาดหวังในการปฏิบัติภาระงาน ควรจะอยู่ระดับใด
4.
ภาระงานมีความสําคัญอย่างไร
5.
สารสนเทศใดที่มีความจําเป็นต่อการปฏิบัติภาระงาน
และจะได้มาจากแหล่งใด
6.
อะไรคือเงื่อนไขในผลการปฏิบัติงาน
7.
ในการดําเนินงานตามระบบ จําเป็นต้องมีการประสานงานกับบุคคลฝ่ายอื่น
หรือภาระงานอื่น หรือไม่
8.
ภาระงานนั้นๆ มากเกินกว่าความต้องการในด้านต่างๆหรือไม่ เช่น
ด้านการรับรู้ (perceptual) ด้าน ความรู้ (cognitive ) และด้านทักษะ (psychomotor) และด้านกายภาพ (Physical)
9.
ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใด ภายใต้กรอบเวลา เช่น (รายวัน
รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี)
10.
การปฏิบัติภาระงานนี้ต้องใช้เวลามากน้อยเพียงใด
11.
ในการปฏิบัติภาระงานนี้ บุคคลต้องมีทักษะ ความรู้
และความสามารถต่างๆ อะไรเป็นพื้นฐาน
12.
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการปฏิบัติที่ยอมรับได้ในปัจจุบันคืออะไร
และเกณฑ์ที่พึงประสงค์คืออะไร
13.
พฤติกรรมใดที่สามารถจําแนกได้ว่า ใครเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดี
14.
พฤติกรรมใดที่มีความสําคัญ ต่อผลการปฏิบัติงานตามภาระงาน
2. นางสาวปิยธิดา นรากุล
อัธยาตมวิทยา : ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน
นิรมล ตีรณสาร สวัสดิบุตร (2548 : 7-8)
ได้กล่าวไว้ว่า หนังสืออัธยาตมวิทยา
(อ่านว่า
อัด-ทะ-ยาด-ตะ-มะ-วิด-ทะ-ยา) หมายถึง ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน
ซึ่งเป็นความรู้ที่ผู้เป็นครูจำเป็นต้องรู้
เพราะงานกับคน เป็นตำราวิชาครูของกรมศึกษาธิการ
ที่เขียนโดย ขุนจรัสชวนะพันธ์
(สารท สุทธเสถียร) พิมพ์เผยแพร่ในปี ร.ศ. 125 (พ.ศ.2449)
อาจารย์ผู้สอนวิชาจิตวิทยาการศึกษาในสถาบันผลิตครูยิ่งควรอ่าน
ละเชิญชวนให้นิสิต
นักศึกษาอ่านด้วย
และเสนอแนวคิดเพิ่มเติมว่า ในการเขียนตำรา ควรอ่านแล้วปรับปรุงตำรา
ให้ทันสมัยเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม
พยายามให้ได้ใจความและเลือกสรรเฉพาะ
เรื่องที่จำเป็นสำหรับครูจริงๆ ตลอดจนการใช้วิธีเขียนและภาษาที่เข้าใจง่ายเช่นเดียวกับ
ตำราอัธยาตมวิทยานี้แสดงตัวอย่างไว้
หนังสืออัธยาตมวิทยา แบ่งเป็นตอนใหญ่ๆ 10 ตอน คือ
1.
วิทยาศาสตร์แห่งร่างกายและวิทยาศาสตร์แห่งจิตใจ ซึ่งเน้นว่า
ครูที่ดีจะต้องรู้อาการของจิตใจนักเรียนให้ละเอียด
เหมือนแพทย์ที่ต้องรู้อาการของร่างกายคนไข้
2. ลักษณะทั้งสามของจิตใจ (ความกระเทือนใจ ความรู้ ความตั้งใจ)
มีการแบ่งชั้นของความเจริญของจิตใจไว้ 3 ชั้น
คือ อายุ 1-7 ปี 7-14 ปี และ 14-21 ปี
ซึ่งเป็นช่วงอายุของคนที่ที่เป็นลูกศิษย์ของครูอาจารย์
3. ความสนใจ มีสองชนิด คือ ที่เกิดขึ้นเอง และที่ต้องทำให้เกิดขึ้น
4. ความพิจารณา มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนว่าเด็กกรุงเทพฯ
กับเด็กบ้านนอก
มีความพิจารณาต่างกันอย่างไร
และครูของเด็กทั้งสองพวกนี้ควรส่งเสริมเด็กต่างกันอย่างไร
นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำที่น่าสนใจสำหรับครูในการสอนวิชาต่างๆ
เช่น
ภูมิศาสตร์ ไวยากรณ์ พงศาวดาร
การเขียนลายมือและวาดรูป
5. ความเจริญของอาการทั้งห้า (รู้สึก เห็น ฟัง ชิม ดม)
มีการกล่าวถึงหน้าที่ของครู
ในการหัดอาการทั้ง 5
และบอกวิธีหัดอาการบางชนิดไว้ด้วย เช่น หัดให้รู้จักสี หัดให้รู้จักรูป
หัดให้รู้จักหนทางไกล (การวัดการคาดคะเน)
หัดให้รู้จักรูปด้วยการสัมผัส
หัดอาการฟังด้วยการอ่าน-ด้วยเพลง
หัดอาการดมและอาการชิม
6. ความจำ มีเรื่องลืมสนิท และลืมไม่สนิท จำได้และนึกออก ชนิดของความจำ
และเรื่องที่ครูควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง คือ
สิ่งที่ครูควรถือเป็นหลักในเวลาที่จะให้นักเรียนจำ
สิ่งที่ควรให้นักเรียนท่องขึ้นใจ
และสิ่งที่ไม่ควรให้นักเรียนท่อง
7. ความคิดคำนึง วิธีฝึกหัดความคิดคำนึงให้ดีขึ้น
วิธีฝึกหัดความคิดคำนึงให้ดีขึ้น
มีการเสนอว่าบทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความคิดคำนึงของเด็กได้ดีที่สุดคือ
พงศาวดาร
และภูมิศาสตร์ และแม้แต่หนังสือเรื่อง
ยักษ์หรือผีสางเทวดาที่ผู้ใหญ่เห็นว่าไร้สาระ
ก็ช่วยหัดให้เด็กมีความคิดคำนึงได้
8. ความตกใจ เกิดจากอาการ 2 อย่าง คือ การเปรียบเทียบและการลงความคิดเห็น
มีตัวอย่างบทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความตกใจ เช่น
การเขียนหนังสือ และวาดรูป
บทเรียนสำหรับหัดมือ (พับ ตัด ปั้น)
การกระจายประโยคตามตำราไวยากรณ์ เลข การเล่นออกแรง
9. ความวิเคราะห์ มีการแสดงตัวอย่างวิธีการสอน 2 แบบ คือ แบบ “คิดค้น”
(induction) และแบบ “คิดสอบ” (deduction)
มีการเปรียบเทียบให้ดูว่าคิดค้นกับคิดสอบแตกต่างกันอย่างไรและมีประโยชน์แก่การศึกษาต่างกันอย่างไร
ครูจะได้เลือกว่าเมื่อใดควรให้นักเรียนคิดค้น เมื่อใดให้คิดสอบ
และมีตัวอย่างวิธีสอนเรื่องกริยาวิเศษณ์ที่แสดงขั้นตอนการสอนให้ดู 11 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการคิดค้น แล้วต่อด้วยอีก 2 ขั้นตอน
ซึ่งเป็นการคิดสอบการใช้วิธีการสอนรวมกันทั้งคิดค้นและคิดสอบเช่นนี้ ท่านเรียกว่า
วิธีสำเร็จ และบอกว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีอื่นๆ
10. ความเข้าใจ มีการให้ตัวอย่าง คำจำกัดความ ลักษณะแห่งความเข้าใจ
และบอกวิธีสอนที่จะทำให้เด็กเข้าใจได้ดี
ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูทุกคนปรารถนา
วิชาอัธยาตมวิทยาต่อมาเป็นวิชาจิตวิทยาในหลักสูตรผลิตครูในหลายสถาบัน
คือ
เรียนรู้หลักวิชาจิตวิทยาที่จะเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน
(จรัส ชวนะพันธ์ (สารท สุทธเสถียร), ขุน (2548)
นนทบุรี : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)
3. นางสาวณิชกมล คำเพชรดี
การสานสร้างความรู้จากสังคม
Toffler
(1980) กล่าวถึงพัฒนาการทางสังคมมนุษย์จากสังคมเกษตรกรรม
มาสู่สังคมอุตสาหกรรมและสังคมสารสนเทศ พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรียกกันในช่วงแรกว่า สังคมสารสนเทศ (information Society) ต่อมาผู้คนในสังคมที่มีปัญญาสามารถจัดการความรู้ได้
สังคมสารสนเทศก็กลายเป็น สังคมฐานความรู้ (knowledge based society) การพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย เป็นผลให้แนวทางในการจัด
การศึกษาจำเป็นต้องให้สมาชิกในสังคมให้พร้อมรับสังคมฐานความรู้
การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ กล่าวกันในการจัดการศึกษานั้น
ต้องเกิดจากความเข้าใจผู้เรียนและสภาพแวดล้อมของผู้เรียน เพื่อสร้าง
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
เช่น การจัดกระบวนการ เรียนรู้ สื่อในการเรียนรู้ การศึกษาตามทฤษฎี social
constructivism มีความเหมาะสมมากสำหรับสังคมสารสนเทศ
โดยเฉพาะสังคมฐานความรู้ เนื่องจากผู้เรียนสามารถเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ
จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย หาก
สถานศึกษาจัดสภาวะแวดล้อมให้สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้จากเครือข่ายสารสนเทศ สุดาพร
ลักษณียนาวิน (2550)
ได้เสนอกระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม(social
constructivism) ดังนี้
ตารางที่10
กระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม
ทฤษฎี
|
วิธีการเรียนการสอน
|
เครื่องมือและสภาพกายภาพ
|
การสานสร้างความรู้จากสังคม
(social
constructivism)
|
การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน
(Problem
Based Learning)
การเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐาน
(Task
Based Learning)
การเรียนรู้แบบเชิงรุก
(Active Learning)
การเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน
(Research
Based Learning)
การเรียนรู้แบบทีมเป็นฐาน
(Team
Based Learning)
การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
(Peer
Learning)
|
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer
Assisted) เครือข่ายออนไลน์
(Network
Environment)
วิกิเทคโนโลยี
(Wiki Technology)
ห้องเรียนไร้โต๊ะ
(Classrooms without
Desk)
การออกแบบห้องเรียนแนวใหม่
(New Classroom Design)
|
การศึกษาตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม
หลักสูตรจะเป็นตัวกำหนดสิ่งที่จะเรียนรู้ โรงเรียนและผู้สอนจะกำกับการเรียนรู้
ผู้เรียนและผู้สอนจะช่วยกันคิดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับ สภาพสังคม
วิธีการเรียนการสอนแบบนี้ต้องรวมพลังในการเรียนการสอน ทั้งการเตรียมการ เวลาในการ
ค้นคว้าหาข้อมูล
เวลาในการทำกิจกรรมและเวลาที่ต้องมีให้แก่กันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
และผู้เรียนกับ ผู้สอน เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
กิจกรรมการเรียนเป็นเรื่องที่ผู้เรียนเป็นผู้กำกับดูแลเอง (autonomous
learner) ผู้เรียนเป็นผู้สานสร้างความรู้
ในบริบทของคำถามและโจทย์ที่มีให้ตอบไม่รู้จบ
เครื่องมือและสภาพทางกายภาพของห้องเรียน
มีการออกแบบห้องเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสื่อ กับเพื่อน
และกับผู้สอน
4. นางสาวจุฑามาศ ภูชุม
การวิเคราะห์งาน
การวิเคราะห์งานเป็นการตรวจสอบว่าในการศึกษานั้น
ๆ มีงานใดที่เป็นชีวิตจริง และมีความรู้
ทักษะและเจตคติใดบ้างที่นําไปสู่ความสําเร็จในการทํางานนั้น ๆ
การวิเคราะห์งานช่วยให้แน่ใจว่าจะได้ สาระและคุณค่าที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้
คําถามหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์งาน
ในการวิเคราะห์งาน มีคําถามหลัก 3 ข้อ คือ
1.
ภาระใดงานใดเป็นข้อกําหนดของงาน
2.
การจัดเรียงลําดับของแต่ละภาระงานคืออะไร
3.
เวลาที่ใช้ในการทําแต่ละภาระงาน
สุดท้ายหาคําตอบให้ได้ว่าภาระงานใดมีความสําคัญ
เนื่องจากงาน ประกอบด้วยภาระงานหลายภาระงาน
1.
การวิเคราะห์งานทําได้อย่างไร
2.
วิธีการวิเคราะห์งานที่ใช้บ่อย คือ
การสอบถาม (questionnaires) การสํารวจโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ หรือไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์สอบถามผู้เชี่ยวชาญ
เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อยและได้ข้อมูลจํานวนมาก
การสัมภาษณ์ (interviews) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะสนทนาเป็นรายบุคคลกับ ผู้เชี่ยวชาญ
เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามาก แต่มีข้อดีสําหรับคําถามปลายเปิด
หรือสามารถถามเพิ่มเติม ในประเด็นที่ต้องการได้ทันที
การสนทนากลุ่ม (focus groups) การสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะให้ผลดีกว่าในประเด็นที่จะ
ช่วยให้ตรงประเด็นมากกว่า มิฉะนั้นอาจจะเข้าใจผิดหรือมโนทัศน์ที่ผิดพลาดได้
5. นางสาวศิริลักษณ์ ชฎา
การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้
การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้จะเป็นการจํากัดขอบเขตของเรื่องที่จะนํามาสอนกับเรื่องที่ไม่ต้องนํามาสอน ซึ่งมีความสําคัญยิ่งในปัจจุบันเนื่องจากหนังสือเรียนบรรจุสาระสนเทศไว้มากเกินกว่าที่จะนํามา สอนอย่างมีประสิทธิผลในระยะเวลาหนึ่งภาคเรียน ควรยึดหลักว่า
เพื่อเป็นผลดีต่อ การเรียนรู้จริง ๆ ของ ผู้เรียน
สื่อการเรียนรู้ที่จําเป็นถึงแม้ว่าจะน้อยแต่ก็ดีกว่าสื่อการเรียนรู้ขนาดใหญ่
แต่ไม่ได้ช่วยให้ประสบ ความสําเร็จในการเรียน
วิเคราะห์สาระการเรียนรู้
เนื้อหาสาระที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ อาจจะแบ่งได้
หลายลักษณะ เช่น การเย่ และบริกส์ (Gagne and Briggs 1974 : 53 - 70) กําหนดสาระการเรียนรู้ ดังนี้
1) ข้อมูลที่เป็นความรู้
2) เจตคติ และ
3) ทักษะ ส่วนเดคโค
(De Cecco 1968 : 214 - 447) แบ่งสาระการ
เรียนรู้ตามจุดประสงค์เป็น
1) ทักษะ
2) ความรู้ที่เป็นข้อมูลธรรมดา
3) ความคิดรวบยอดและหลักการ
4) การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์และการค้นพบ
การวิเคราะห์เนื้อหาสาระ ควรดําเนินการดังนี้
ตัดสินใจให้ได้ว่าสารสนเทศใดมีความจําเป็นสูงสุดแบ่งออกเป็นมโนทัศน์ย่อย
ๆขอเสนอแนะให้นําโครงสร้างการจําแนกจุดประสงค์การเรียนรู้
มาใช้ในการตัดสินใจในการสอน อาทิ
การจําแนกจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
(Bloom's Taxonomy)
6. นางสาวกัญญารัตน์ งามเลิศ
การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
การกําหนดจุดหมายที่พึงประสงค์ในการสอนเพื่อความเข้าใจครูจะพิจารณาว่านักเรียนมีความรู้
พื้นฐานที่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและน่าจะรู้อะไรบ้างแล้ว
จากนั้นกําหนดขอบข่ายให้แคบลงว่านักเรียนควรมีสิ่งที่
จําเป็นต้องรู้และจําเป็นต้องทํา นักเรียนควรทําความเข้าใจในเรื่องใด
และควรทําอะไรได้บ้าง ควรมีความ เข้าใจที่ยั่งยืนอะไรบ้าง
ครูจะต้องพิจารณาวิธีการประเมิน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนการสอน
จะต้องลุ่มลึกกว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก
(ระบุหลักฐานและเกณฑ์ในการประเมินผลชัดเจน)
จึงจะสามารถพัฒนาให้เกิดความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้ง
การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
Wiggin ได้เสนอเสนอกระบวนการออกแบบ การเรียนรู้ที่ย้อนกลับ
จากจุดหมายการเรียนรู้และ มาตรฐานที่กําหนดไว้
โดยเริ่มจากจุดหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตร ออกแบบ
แผนการจัดการเรียนรู้ และออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน
เริ่มจากจะวิเคราะห์ตั้งแต่ ช่วงแรกของการออกแบบหลักสูตรว่า
หากนักเรียนบรรลุจุดหมายที่กําหนดไว้ จะต้องพิจารณาจากสิ่งใด หรือจากหลักฐานอะไร
จึงจะถือว่านักเรียนได้เกิดความเข้าใจในระดับที่พึงประสงค์
วิธีการนี้จะช่วยให้ครูมี ความชัดเจนในเรื่องจุดหมาย
และออกแบบให้มีความสอดคล้องกันระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนและ จุดหมายที่พึงประสงค์
การออกแบบแบบย้อนกลับ (backward design)จะมี 3 ขั้นตอนดังนี้
1 การกําหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
2 การกําหนดหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้บรรลุจุดหมายการเรียนรู้ที่กําหนดไว้
3 การวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้
การกําหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
การกำหรดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสาระสําคัญและรู้อะไรแล้ว
กําหนดขอบข่ายว่า นักเรียนจําเป็นต้องรู้สาระอะไร และจะต้องทําอะไรได้
ผู้เรียนควรทําความเข้าใจในเรื่องใด ควรทําอะไรได้ บ้าง
และควรมีความเข้าใจที่ลุ่มลึกและยั่งยืนในเรื่องใด Wiggin ได้เสนอเกณฑ์พิจารณากําหนดจุดหมาย 4 ประการ
ได้แก่
1. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น
เป็นประเด็นหลักที่จะมีคุณค่านอกบริบทการเรียนการสอน ในห้องเรียนหรือไม่
ความเข้าใจที่ยั่งยืนต้องไม่เป็นเพียงข้อมูลหรือทักษะ เฉพาะเรื่องเท่านั้น
แต่จะต้องเป็น เรื่องหลัก ประเด็นหลัก ที่สามารถนําไปปรับประยุกต์ในสถานการณ์อื่นๆ
นอกห้องเรียน
2. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เป็นหัวใจของศาสตร์
ที่เรียนหรือไม่ นักเรียนควรมีโอกาส ผ่านกระบวนการของศาสตร์นั้น ๆ
เพื่อจะได้เรียนรู้ว่าองค์ความรู้ในศาสตร์นั้นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร
3. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น
ต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจ เพียงใด
มีเนื้อหาสาระเป็นจํานวนมากที่ซับซ้อน ยาก
และเป็นนามธรรมเกินที่นักเรียนจะเข้าใจได้ด้วย ตนเอง หัวข้อเหล่านี้
ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และควรบรรจุในการเรียนการสอนมากกว่าเนื้อหาที่เข้าใจ
ง่าย ที่นักเรียนอาจเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
4. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น
เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของนักเรียน มีหลายหัวข้อ หลาย กิจกรรมที่นักเรียนสนใจตามวัยอยู่แล้ว
สามารถเลือกมาใช้เพื่อเป็น “ประตู” ไปสู่เรื่องอื่นที่ใหญ่กว่า หาก
สามารถเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนไปสู่เรื่องที่นักเรียนสนใจ
จะช่วยทําให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องด้วยตนเอง ต่อไป
การวางแผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับจุดหมายการเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปธรรมแล้วผู้สอนสามารถเริ่ม
วางแผนการจัดการเรียนรู้ได้ โดยอาจตั้งคําถามดังต่อไปนี้
1.
ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถตามจุดหมายที่กําหนดไว้
2.
กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนานักเรียนไปสู่จุดหมายดังกล่าว
3.
สื่อการสอนจึงจะเหมาะสมสําหรับกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น
4.
การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น