วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

T : วิเคราะห์ภาระงาน


T : วิเคราะห์ภาระงาน
บทที่ 4 การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
1. นางสาวปิยธิดา นรากุล
การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
            การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพตามที่มาร์ซาโน (marsano:2012)ได้นำเสนอกลวิธีการจัดการเรียนการสอนสรุปได้ 3 ส่วนคือ 1) การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้(creating theenvironment for learning)ซึ่งกลวิธีในส่วนที่1นี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนทุกบทเรียนเมื่อผู้สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ย่อมจูงใจและทำให้ผู้เรียนเกิดความคาดหวังและเรียนรู้อย่างมีความหมายโดยกาดูแลให้ข้อมูลย้อนกลับ(feedback)เพื่อการพัฒนาเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นตลอดจนเรียนรู้การติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง2) การช่วยพัฒนาความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เรียน (helping students develop understanding) กลวิธีในส่วนที่ 2 นี้เป็นการช่วยผู้เรียนในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจจัดลำดับความรู้และเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ใหม่จัดการกับความรู้ตรวจสอบความรู้สร้างมโนทัศน์ (concept) ที่ถูกต้องซึ่งกระบวนการบูรณาการและเรียนรู้กระบวนการในแต่ละประเภทของความรู้เกี่ยวข้องกับ(1)การสร้างขั้นตอนที่จำเป็นในแต่ละกระบวนการหรือทักษะ(2)พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติอย่างหลักหลาย  (3)ปฏิบัติตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจำ และ 3) ช่วยผู้เรียนในการขยายและประยุกต์ให้ความรู้  (elping students extend and apply knowledge ) กลวิธีในส่วนที่ 3คือช่วยขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ คือเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้มากกว่าคำตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ขยายองค์ความรู้โดยนำความรู้ไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง (Rral-world contexts) โดยใช้กระบวนการของเหตุและผลถึงเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
            จากกลวิธีการสอนดังกล่าวเมื่อพิจารณาตามหลัก universal desing (UD) จะเกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่คนในทุกช่วงอายุและความสามารถที่แตกต่างกันสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เมื่อนำ universal desing (UD) มาใช้ทางการศึกษาจึงเป็นการออกแบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนทุกคนได้แก่การสอนที่ใช้สื่อและวิธีการแบบต่างๆเช่นการบรรยายการร่วมกันอภิปรายการทำงานกลุ่มการสอนโดยใช้อินเตอร์เน็ตใช้ห้องปฏิบัติการการออกฝึกภาคสนามเป็นต้นรวมทั้งการออกแบบหลักสูตรที่สนองต่อผู้เรียนหลายระดับความสามารถในห้องเรียน(สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา,2555 : 4-6) universal desing (UD) ถูกนำมาใช้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาอาทิ คอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ ซอฟต์แวร์ หนังสือคู่มือ และเครื่องมือที่ใช้ในห้องทดลองและนำมาปรับใช้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อาธิ หอพัก ห้องเรียน อาคารศูนย์ประชุม ห้องสมุดและ คอร์สรายวิชาเรียนทางไกลเป็นต้น

2. นางสาวกัญญารัตน์ งามเลิศ
ความสำคัญของการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
         การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล(Universaldesignfor:UDI)คือแนวทางการสอนที่ประกอบด้วยการออกแบบเชิงรุกและใช้กลวิธีการ เรียนการสอนแบบรวม (inclusive instructionalstrategies)ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในวงกว้างคือมีบทบาทเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก(proactive)มีความรับผิดชอบ(responsive)และเป็นผู้สนับสนุน(supportive)การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal design for : UDI)ให้ความสำคัญกับหลักสูตรรายวิชาต่างๆ เทคโนโลยีและบริการต่างๆโดยทั่วไปที่จัดให้ผู้เรียนถูกออกแบบมาให้กับผู้เรียนส่วนใหญ่โดยเฉลี่ย,แต่ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลจะต้องขยายขอบเขตสำหรับผู้เรียนที่มีหลากหลายลักษณะคํานึงถึงผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในการออกแบบดังกล่าวมุ่งที่ผลิตภัณฑ์ในการศึกษาและการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้ได้ผลได้มากเท่าที่จะทำได้” (story,mueller, and mace, 1998)
            การออกแบบสากลในการศึกษา
            Universaldesign(UD)เป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับคนทุกคนโดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นสำหรับใครคนใดคนหนึ่งดังนั้นการนำหลักการUniversal design(UD)มาใช้ในการศึกษาจึงสามารถลดอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้และสร้างความยืดหยุ่นในการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้ไม่มีความแตกต่างกันสามารถเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกันให้มากที่สุด Strangeman,hitchcock.Hall,Meo,&et.al:2006จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นคาโรลาโดได้นำแนวคิดนี้มาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนใน 2 ลักษณะคือ Universal design for instruction (UDI) และUniversal design for learning (UDL)โดยUDIเป็นการออกแบบการสอนรวมไปถึงวิธีการสอน การจัดเนื้อหา การประเมินผล และหลักสูตร ส่วน UDL เป็นเรื่องที่เกี่นวข้องกับออกแบบสภาพการเรียนรู้หรือสิงแวดล้อมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
            การออกแบบสากลในการศึกษา (Universal design in education)ถูกนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาต่างๆเช่น คอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ ซอฟต์แวร์ ตำราและอุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ รวมถึง สภาพแวดล้อมต่างๆเช่น ห้องรับแขก ห้องเรียน อาคารสหภาพนักศึกษา ห้องสมุด และหลักสูตรการเรียนทางไกล แตกต่างจากที่พักสำหรับบุคคลที่เฉพาะเจาะจง ที่มีความสามารถในการเลือกปฏิบัติ UDE ให้ประโยชน์แก่นักเรียนทุกคนรวมถึง ผู้ที่ไม่ได้รับ ที่พักที่เกี่ยวข้องกับคนพิการจากโรงเรียน ส่วนต่อไปนี้ แสดงตัวอย่างการใช้งานทั่วไปในการ ตั้งค่าทางการศึกษา : ช่องว่างทางกายภาพเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) การสอนและบริการของ นักเรียนแตกต่างจากที่พักสำหรับบุคคลที่เฉพาะเจาะจงที่มีความสามารถในการปฏิบัติ UDE ให้ประโยชน์แก่นักเรียนทุกคนรวมถึงผู้ที่ไม่ได้รับที่พักที่เกี่ยวข้องกับคนพิการจากโรงเรียนส่วนต่อไปนี้แสดงตัวอย่างของการใช้งานทั่วไปในการตั้งค่าทางการศึกษา:พื้นที่ทางกายภาพเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) การสอนและบริการของนักเรียน

3. นางสาวศิริลักษณ์ ชฎา
การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (Universal design for learning : UDL )
แนวคิด Universal design เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อ ให้ผู้เรียนทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่การออกแบบมุ่งที่การใช้งานให้คุ้มค่าครอบคลุมสำหรับผู้เรียนทุกคนโดยคำนึงถึงโอกาสในการใช้งานอย่างเท่าเทียมกันดังนั้นการนำแนวคิดการออกแบบการเรียนรู้สากล (Universal design for learning) มาใช้ในจึงสามารถช่วยลดอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้และสร้างความยืดหยุ่นในการจัดการศึกษาเพื่อสนองต่อผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันสามารถเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน
แนวคิดการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (Universal design for learning : UDL ) เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ในยุคการศึกษา 4.0 จึงมีการประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่การสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่มีความต้องการหลากหลายและแตกต่างกันไปประกอบไปด้วยหลักการที่สำคัญ 3 ประการ (Strangeman,Hitchcock, hall, & et. al : 2006 )ได้แก่
1. การสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อจดจำโดยการจัดหาวิธีการนำเสนอที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย
2. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ยุทธศาสตร์โดยจัดหาวิธีการอธิบายหรือการแสดงออกด้วยคำพูดที่ยืดหยุ่นและหลากหลายและการเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์มาก
3. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลโดยการจัดหาทางเลือกที่มีความยืดหยุดให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตามหลักสูตร

4. นางสาวจุฑามาศ ภูชุม
ระดับในการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
   การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล จัดเป็น 3 ระดับ ดังนี้
                        ระดับที่ 1 การนำเสนอ การจัดการเรียนรู้ตามหลักการการออกแบบที่เป็นสากลเพื่อการเรียนรู้ (UDL) ควรใช้รูปแบบการนำเสนอที่หลากหลายวิธี ได้แก่
            - การใช้ข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง หรือข้อมูลที่สัมผัสได้
            - การใช้ภาษาและสัญลักษณ์ที่หลากหลาย
            - การให้โอกาสผู้เรียนได้ทำความเข้าใจบทเรียนและทบทวนความรู้นั้น
                        ระดับที่ 2 การสื่อสาร การให้ผู้เรียนได้แสดงออกในการเรียนรู้ ซึ่งมีหลากหลายวิธีการ ได้แก่
            - การใช้ภาษากาย
            - การพูด การสนทนาโต้ตอบ
            - การใช้การทำงานของสมองระดับสูง (Executive Function)
                        ระดับที่ 3 การมีส่วนร่วม เป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจ ได้แก่
            - การพยายามชักจูงความสนใจ โดยให้อิสระในการเลือก
            - สนับสนุนให้ใช้ความพยายามในการทางาน
            - เสริมสร้างทักษะการกำกับตนเอง (Self-regulation)

5. นางสาวณิชกมล คำเพชรดี
พหุปัญญา (Multiple Intelligences)

           Howard Gardner (2011) Gardner, Howard. Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences. New York: Basic Books, 2011. ได้พัฒนาทฤษฎีพหุปัญญาโดยทฤษฎีโต้แย้งความคิดเกี่ยวกับความเก่งและปัญญาของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่เคยระบุความหมายไว้แต่เดิมซึ่งเรียก ไอคิว”  นั้นไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่การแสดงความสามารถของมนุษย์ที่มีมากมายหลากหลาย ที่แนวคิดเดิมเน้นปัญญาของมนุษย์เพียงสองด้าน คือ ด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์ การ์ดเนอร์ได้เสนอแนวคิดว่าปัญญาที่หลากหลายหรือพหุปัญญาจะพบในทุกวิถีชีวิต การเรียนรู้ที่ดีที่สุดอาจเกิดจากตัวป้อนที่ให้ผ่านวิธีการที่ต่างกัน ผู้เรียนอาจจะทำได้ดีในเรื่องที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์ หรืออาจจะมีกระบวนการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งกว่า ที่เหนือชั้นกว่าคนที่แค่จำหลักคิดได้เท่านั้น การ์ดเนอร์เสนอว่าปัญญามีอยู่ 8 ด้าน ดังต่อไปนี้
            1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence) เป็นปัญญาความสามารถในการใช้ถ้อยคำ(“word smart")
            2. ปัญญาค้านตรรกะ - คณิตศาสตร์ (Logical-mathematical intelligence) เป็นปัญญา ความสามารถทางด้านจำนวนตัวเลขและเหตุผล (“number/reasoning smart”)
            3. ปัญญาด้านมิติ (Spatial intelligence) เป็นปัญญาความสามารถด้านการคิดเป็นรูปภาพ สามารถมองเห็นโลกในรูปของภาพ และสามารถจำลองสร้างภาพนั้น ๆ ได้ (“picture smart”)
            4. ปัญญาทางค้านคนตรี (Musical intelligence) เป็นปัญญาที่มีความสามารถสูงทางด้านดนตรี คือ ความสามารถและชื่นชมในเสียง ทำนองจังหวะ และสามารถผลิตสียง ทำนอง จังหวะได้ดี(“music smart”)
            5. ปัญญาด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว (Bodily-Kinesthetic intelligence) เป็นปัญญา ความสามารถพิเศษในการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย และในการใช้มือเพื่อจัดกระทำกับสิ่งของ (“body smart)
            6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal intelligence) เป็นปัญญาความสามารถพิเศษ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความเข้าใจผู้อื่นสามารถที่จะสังเกตรับรู้อารมณ์ ความคิดความปรารถนาของผู้อื่น (“people smart”)
            7. ปัญญาด้านด้านปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง (Intrapersonal intelligence) เป็นปัญญาความสามารถเข้าใจอารมณ์ของตนเองได้ดี (“self smart”)
            8. ปัญญาด้านการเข้าใจเรื่องธรรมชาติ (Naturalist intelligence) เป็นปัญญาความสามารถสังเกต เชื่อมโยงข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ (nature smart”)
            สาระสำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญา คือ ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้านนี้ในตน และปัญญาแต่ละด้านสามารถพัฒนาให้อยู่ในระดับใช้การได้ การ์ดเนอร์กล่าวสรุปไว้ว่า ปัญญาทั้ง 8 ด้านจะสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตจะไม่มีกิจกรรมใดที่ใช้เฉพาะปัญญาด้านใดด้านเดียว คำแนะนำที่ดีก็คือ ไม่ทุ่มเทไปที่ปัญญาด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว แต่ควรจะสัมพันธ์ปัญญาหลายๆ ด้านในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา

6. นางสาวธิดารัตน์ มะละกา
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)
          Jon Wiles (2009 : 56-57) สรุปว่า สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) หมายถึง สถาวะแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้เรียน ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ในด้านรูปธรรมเป็นสภาพแวดล้อมทางกานภาพ ได้แก่สภาพแวดล้อมในห้องเรียน เช่นขนาด การวางผัง แสง ที่นั่ง ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน เช่น ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์หรือทางภาษา โดยสามารถใช้อาคารในการจัดพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โดยเฉพาะ จัดสื่อที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนแต่ละคนและเป็นสื่อ บูรณาการสะดวกเหมาะสมกับหลักสูตร เป็นศูนย์การเรียนรู้สื่อประสม เป็นต้น สภาพแวดล้อมที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมทางจิตใจหรือบรรยากาศทางจิตใจ ส่งผลต่อผู้เรียนทั้งทางบวกและทางลบ ตลอดจนมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้  โดยสรุปสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ คือมีความรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
            Bob Pearlman อ้างถึงใน นฤมล ปภัสสรานนท์.2558 : 67-68 ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยตั้งคำถามว่า “ความรู้และทักษะอะไรบ้างที่จำเป็นสำหรับ นักเรียนในศตวรรษที่ 21” และควรตอบคำถามตามประเด็นคำถามต่อไปนี้
            -อะไร คือ หลักสูตร การเรียนการสอนและกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
            -สิ่งที่ใช้ประเมินผลการเรียนรู้ทั้งระดับโรงเรียน และระดับชาติ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน การมีส่วนร่วมของนักเรียน และการบริหารตนเอง
-เทคโนโลยีจะสามารถสนับสนุนการเรียนการสอน หลักสูตรและการประเมินผลของศตวรรษที่ 21 เพื่อสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ร่วมได้อย่างไร
-อะไร คือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพ(ห้องเรียนโรงเรียนและโลกแห่งความจริง) ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
จากการศึกษาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จากเว็บไซด์ ได้นำเสนอสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ว่า คือ ระบบสนับสนุนที่จัดสรร เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เป็นระบบที่รองรับความต้องการ เพื่อการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนทุกคนและสนับสนุนความสัมพันธ์กับมนุษย์ในทางที่เป็นประโยชน์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เป็นการรวมเอาโครงสร้าง เครื่องมือและชุมชนที่สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนและนักศึกษา เพื่อที่จะบรรลุความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 นี้ ตามความต้องการของทุกคน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะเป็นระบบ ที่สอดคล้องกันได้อย่างลงตัว คือ
-สร้างข้อปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ ให้การสนับสนุนจากผู้คน โดยรอบและสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะให้การสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ผลเชิงทักษะในศตวรรษที่ 21
-สนับสนุน ชุมชน การเรียนรู้ระดับมืออาชีพที่ช่วยให้นักศึกษา ทำงานร่วมกันแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ไปสู่การปฏิบัติในห้องเรียน
-ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในบริบทของศตวรรษที่ 21 (เช่นผ่านโครงการหรืองานอื่น ๆ ที่นำไปใช้)
-ช่วยให้เข้าถึง เครื่องมือการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเทคโนโลยีและทรัพยากร
-จัดสรร ให้ออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในศตวรรษทื่ 21 สำหรับการเรียนรู้แบบกลุ่ม ทีมงานและของแต่ละบุคคล
-รองรับ ชุมชนที่มี การขยายตัวและการมีส่วนร่วมระหว่างประเทศในการเรียนรู้ทั้ง การเรียนแบบเผชิญหน้า face to face และ ออนไลน์
กลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ (Classroom Instruction That works)
Marzano (2012) ได้นำเสนอกลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ ปรพกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1.การสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning)
2.การช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความเข้าใจ (Helping students Develop Understanding)
3.การช่วยให้ผู้เรียนให้ขยายและนำความรู้ไปใช้ (Helping students Extend and Apply Knowledge)
            กลวิธีที่ 1 เป็นพื้นฐานสำคัญ เมื่อผู้สอนสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนการติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง
            กลวิธีที่ 2 เป็นการช่วยผู้เรียนในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จัดการกับความรู้จัดลำดับและเชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ ตรวจสอบความรู้และสร้างมโนทัศน์(Concept) ที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวนการบูรณาการและการเรียนรู้กระบวนการใหม่แต่ละประเภทของความรู้จะเกี่ยวข้องกับ 1.การสร้างขั้นตอนที่จำเป็นในแต่ละกระบวนการหรือทักษะ 2.พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติอย่างหลากหลาย 3.ปฏิบัติตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจำ
            กลวิธีที่ 3 คือ ช่วยผู้เรียนขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ความรู้ได้ความรู้มากกว่าคำตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ขยายขอบข่ายความรู้ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตจรองเป็นบริบทแห่งความเป็นจริง (Real-world Contexts) มีความเป็นเหตุผล จึงเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น